2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ

29 6) ภาครัฐขาดฐานข้อมูลประชาชนอย่างเป็นระบบ ในการจัดสรรสวัสดิการให้ประชาชน รัฐบาลจำเป็นต้องมีฐานข้อมูลเกี่ยวกับประชาชนที่ครบถ้วน เป็นระบบ และมีการอัพเดตสม่ำเสมอ เพื่อให้จัดสรรสวัสดิการได้เหมาะสมและตรงกับกลุ่มเป้าหมาย แต่ข้อมูลเกี่ยวกับประชาชนที่มีอยู่ใน ปัจจุบันกระจัดกระจายไปตามหน่วยงานต่างๆ ไม่เป็นระบบ ข้อมูลไม่ครบถ้วนและไม่เป็นปัจจุบัน ทำ ให้ตรวจสอบข้อมูลยาก เช่น ในโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มีฐานข้อมูลผู้มีรายได้น้อยไม่ครบถ้วน และไม่ได้ตรวจสอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้มีผู้ที่มีคุณสมบัติไม่ตรงตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ คือไม่ได้เป็นคนยากจนได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐไปด้วย 2.5 การได้มาซึ่งสัญชาติไทย 2.5.1 ความหมายของเชื้อชาติ เชื้อชาติ คือ ผู้ที่ร่วมเผ่าพันธุ์เดียวกัน (ราชบัณฑิตยสถาน, 2554) เชื้อชาติ คือ ลักษณะทาง ชีวภาพของคน ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนจากลักษณะรูปพรรณ สีผิว เส้นผม และตา การแบ่งกลุ่ม เชื้อ ชาติ (racial group) มักแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม คือ นิกรอยด์ (Negroid) มองโกลอยด์ (Mongoloid) และคอ เคซอยด์ (Caucasoid) ในตอนหลัง ได้เพิ่มออสตราลอยด์ (Australoid) โพลินี เชียน (Polynesian) ฯลฯ อีกด้วย การแบ่งแยกกลุ่มคนตามลักษณะทางชีวภาพนี้ มีความสำคัญในสังคมที่ สมาชิกในสังคมมาจากบรรพบุรุษที่ต่างกัน และมีสีผิว และรูปพรรณสัณฐาน ที่ต่างกันอย่างเห็นได้ชัด เช่น ความแตกต่างระหว่างคนผิวขาวกับคนผิวดำ ในสังคมที่มีกลุ่มคนที่มีลักษณะทางชีวภาพต่างกัน และประวัติความเป็นมาตลอดจน บทบาทในสังคมต่างกัน ความแตกต่างทางชีวภาพอาจเป็นปัจจัยที่ ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันได้ แต่ในบางสังคม เช่น สังคมไทย ความแตกต่างทางชีวภาพไม่มี ความหมายเท่าใดนัก คนไทยใช้คำว่า เชื้อชาติ ในภาษาพูดทั่ว ๆ ไป ในความหมายของกลุ่มชาติพันธุ์ ว่า คือ กลุ่มคนที่มีจุดกำเนิดของบรรพบุรุษร่วมกัน มีขนบธรรมเนียมประเพณีเดียวกัน และพูดภาษา เดียวกัน ตลอดจนมีความรู้สึกในเผ่าพันธุ์เดียวกัน ตัวอย่างของกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มต่าง ๆ คือ กลุ่มคน จีน กลุ่มคนไทย กลุ่มคนพม่า กลุ่มคนลาว กลุ่มคนเขมร กลุ่มคนกะเหรี่ยง กลุ่มคนอินเดีย กลุ่มคนม้ง (อมรา พงศาพิชญ์, 2550) อีกหนึ่งความหมายของเชื้อชาติ (race) ก็คือคนหมู่หนึ่ง พวกหนึ่งซึ่งมีลักษณะรูปร่าง ผิวพรรณผิดแผก แตกต่าง แปลกแยกไปจากคนหมู่อื่น พวกอื่น เป็นการจัดกลุ่มมนุษณ์โดยใช้หลัก ร่วมกันทางชีววิทยาเป็นหลัก ลักษณะทางร่างกาย ย่อมถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่ลูกหลาน โดยทาง พันธุกรรม นักมานุษยวิทยาอาจเรียกว่า “กลุ่มชาติพันธุ์” ด้วยเหตุผลว่า ชาติพันธุ์แต่ละกลุ่ม มักมี ลักษณะทางร่างกายที่คล้ายคลึงกันในกลุ่มของตน มีความแตกต่างต่างจากกลุ่มอื่นอยู่บ้าง ทางด้าน ร่างกาย วิถีชีวิต วัฒนธรรมความเป็นอยู่ และก็มักผันแปรไปตามสภาพสังคม และภูมินิเวศที่แตกต่าง กัน แต่ยังมีจิตสำนึกชาติพันธุ์ หรือเผ่าพันธุ์ดั้งเดิมอยู่ การศึกษาเรื่องราวของเชื้อชาติ หรือโคตรเหง้า

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3