2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ

30 เหล่ากอ เป็นการศึกษาในสาขาวิชาวงศ์วรณา (Ethnology) ศึกษาการกระจายของมนุษย์ที่มีลักษณะ ทางร่างกายคล้ายคลึงกันว่าเป็นพวกเดียวกัน เช่น พิจารณาจากสีผิว วงหน้า สีตา ลักษณะเส้นผม ทรวดทรง หัวกะโหลก ศีรษะ ลักษณะจมูก หรือมีลักษณะทางด้านวัฒนธรรม พฤติกรรมการ แสดงออกผิดแผกไปจากกลุ่มอื่น ๆ รวมไปถึงภาษาพูด วิถีการดำรงชีวิต เป็นต้น (บุญยงค์ เกศเทศ, 2562) 2.5.2 ความหมายของสัญชาติ สัญชาติ (nationality) คือ ความเกิด การเป็นขึ้น ความอยู่ในบังคับ การอยู่ในความ ปกครองของประเทศชาติเดียวกัน สัญชาติเป็นสถานะตามกฎหมายของบุคคลที่แสดงว่าเป็นพลเมือง หรือคนในบังคับของประเทศใดประเทศหนึ่ง (ราชบัณฑิตยสถาน, 2554) สัญชาติ คือการเป็นสมาชิก ของประเทศใดประเทศหนึ่งตามกฎหมาย โดยที่ลักษณะทางชีวภาพและวัฒนธรรมอาจแตกต่างกันได้ การเป็นสมาชิกของประเทศย่อมหมายถึงการเป็นประชาชนของประเทศนั้น ผู้ที่อพยพมาจากที่อื่น เพื่อมาตั้งถิ่นฐานสามารถโอนสัญชาติมาได้ ผู้ที่เปลี่ยนสัญชาติ คือ ผู้ที่เปลี่ยนฐานะจากการเป็น ประชาชนของประเทศหนึ่ง มาเป็นประชาชนของอีกประเทศหนึ่ง (อมรา พงศาพิชญ์ , 2550) เรื่อง “สัญชาติ” ได้มีผู้ให้ความหมายไว้มากมาย โดยมีคำอธิบายแตกต่างกันออกไป ศาสตราจารย์อังเดร เวส นักกฎหมายชาวฝรั่งเศส ได้ให้ความหมายว่า สัญชาติ คือ เครื่องรัดรึง ทางกฎหมายที่ทำหน้าที่ผูก บุคคลไว้กับรัฐ (ประสิทธิ์ ลีปรีชา, 2562) สภายุโรปได้อธิบายว่า สัญชาติ คือ ความผูกพันทางกฎหมายระหว่างรัฐกับบุคคล แต่มิได้ เป็นการแสดงชาติกำเนิดของบุคคลนั้น ขณะ เดียวกันศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ในคดี Nottebohm ได้ให้ความหมายของสัญชาติว่า เป็นสิ่งผูกพันทางกฎหมายที่มีรากฐานมาจากความ ผูกพันร่วมกันในสังคม มีผลประโยชน์และความรู้สึกร่วมกัน ก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ที่มีต่อกัน (กัณภัค ตัณฑสิทธิ์, 2563) ดังนั้น สัญชาติจึงเป็นความผูกพันทางกฎหมาย (Legal Bond) ที่รัฐใช้ เชื่อมโยงบุคคลไว้กับรัฐ ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและรัฐ ซึ่งจะมีผลในทางกฎหมาย คือรัฐ จะต้องออกกฎหมายกำหนดสิทธิและหน้าที่ของบุคคล และบุคคลนั้นมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายที่รัฐ ได้บัญญัติไว้ โดยผลทางกฎหมายยังผูกพันบุคคลนั้น แม้บุคคลนั้นจะอยู่ในรัฐอื่นตามหลักเขตอำนาจรัฐ เหนือบุคคล (กัณภัค ตัณฑสิทธิ์, 2563) 2.5.3 หลักการได้มาซึ่งสัญชาติไทย การได้มาซึ่งสัญชาติไทยของคนไทยภายใต้กฎหมายแห่งราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand) โดยมีหลักของการได้มาซึ่งสัญชาติ 2 หลักใหญ่ ๆ คือ (สำนักงานเลขานุการกรมการ ปกครอง, 2562) 1) การได้สัญชาติไทยโดยการเกิด แบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3