2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ
31 1.1) ได้โดยหลักสายโลหิต กล่าวคือ บิดาหรือมารดาผู้ให้กำเนิดเป็นผู้มีสัญชาติไทยใน ขณะที่บุตรเกิดทั้งเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย 1.2) ได้โดยหลักดินแดน ซึ่งจะต้องเป็นผู้ที่เกิดในราชอาณาจักร โดยมีบิดามารดาเป็น คนต่างด้าวจำแนกได้หลายกรณี เช่น ถ้าบิดามารดามีถิ่นพำนักถาวรในราชอาณาจักร(มีใบสำคัญถิ่นที่ อยู่) บุตรเกิดในราชอาณาจักรจะได้สัญชาติไทยตั้งแต่เกิด แต่ถ้าบิดามารดาไม่มีถิ่นพำนักใน ราชอาณาจักร (มีใบสำคัญถิ่นที่อยู่) บุตรเกิดในราชอาณาจักรจะได้สัญชาติไทยต่อเมื่อต้องยื่นเรื่องขอ สัญชาติไทย และได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจตามกฎหมาย 2) การได้สัญชาติไทยโดยกระบวนการของกฎหมาย ได้แก่ การยื่นเรื่องและพิจารณาของ บุคคลนั้น แบ่งเป็น 3 กรณี ดังนี้ 2.1) ภรรยาคนต่างด้าวขอถือสัญชาติตามสามีไทย 2.2) คนต่างด้าวขอแปลงสัญชาติเป็นไทย 2.3) คนต่างด้าวขอกลับคืนสัญชาติ คือคนสัญชาติไทยสละสัญชาติเพื่อสมรสกับคนต่าง ด้าว หรือคนสัญชาติไทยเสียสัญชาติตามบิดามารดาก่อนบรรลุนิติภาวะ เด็กทุกคนที่เกิดในราชอาณาจักรไทยไม่ว่าจะเป็นบุตรของคนสัญชาติไทย หรือเป็น บุตร ของคนต่างด้าว ที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเป็นบุตรของผู้หลบหนีเข้าเมือง ผู้ที่มีหน้าที่แจ้ง การเกิด คือ บิดา มารดา ผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเจ้าบ้านที่เด็กเกิด ต้องแจ้งการเกิดต่อ นายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น ณ สำนักทะเบียน อำเภอ หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น แห่งท้องที่ที่เด็กเกิด หรือจะแจ้งต่อนายทะเบียนอำเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่นแห่งท้องที่อื่น ที่บิดา มารดา หรือผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมาย ของเด็กที่เกิดนั้นมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านก็ได้และนาย ทะเบียนต้องรับแจ้งการเกิดและออกสูติบัตรให้ผู้แจ้งโดยมีข้อเท็จจริงเท่าที่จะสามารถทราบได้ การ แจ้งการเกิดนั้น ผู้มีหน้าที่แจ้งการเกิดจะมอบหมายเป็นหนังสือให้บุคคลอื่นเป็นผู้แจ้งแทนก็ได้ (กรมการปกครองกระทรงมหาดไทย, 2560) ขั้นตอนการขอมีสัญชาติไทยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ขั้นตอนการขอมีสัญชาติไทยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การสั่งใหคนที่เกิดใน ราชอาณาจักรและไม่ได้รับสัญชาติไทย โดยมีบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าวได้สัญชาติไทยเป็นการ ทั่วไป และการให้สัญชาติไทยเป็นการเฉพาะราย ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ 2560 (กระทรวงมหาดไทย, 2560) 1) ให้ผู้ขอมีสัญชาติไทย ยื่นคำขอพร้อมหลักฐานต่อเจ้าหน้าที่อำเภอ 1.1) กรณีทะเบียนอยู่กรุงเทพมหานคร ยื่น ณ สำนักบริหารการทะเบียน 1.2) กรณีทะเบียนอยู่ต่างจังหวัด ยื่น ณ ที่ว่าการอำเภอ 2) เจ้าหน้าที่อำเภอตรวจสอบความถูกต้องของคำขอและหลักฐาน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3