2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ
32 2.1) กรณีคำขอไม่ถูกต้องหรือเอกสารไม่ครบ ให้เจ้าหน้าที่แจ้งผู้ขอให้แก้ไขภายใน 7 วัน 2.2) กรณีคำขอถูกต้องและเอกสารครบ ให้เจ้าหน้าที่ออกใบรับรองให้ผู้ขอ และ รวบรวมเอกสารเสนอต่อนายอำเภอ 3) นายอำเภอตรวจสอบข้อมูลและพิจารณาคุณสมบัติ 3.1) กรณีขาดคุณสมบัติ ให้แจ้งให้ผู้ขอทราบและอุทรณ์คำขอ 3.2) กรณีมีคุณสมบัติและอายุไม่เกิน 18 ปีบริบูรณ์ ให้นายอำเภอสั่งอนุมัติ ส่งคำขอให้ สำนักบริหารการทะเบียน (สน.บท.) กำหนดเลขประจำตัวประชาชน ภายใน 30 วัน และแจ้งให้ ผู้ขอทราบ 3.3) กรณีมีคุณสมบัติและอายุเกิน 18 ปีบริบูรณ์ ให้นายอำเภอบันทึกความเห็นในคำ ขอสัญชาติ และรวบรวมเอกสารส่งเจ้าหน้าที่จังหวัด 4) เจ้าหน้าที่จังหวัดตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ขอเพิ่มเติม และส่งตัวผู้ขอไปตรวจประวัติ อาชญากรรมและการกระทำความผิดกฎหมายอื่น ๆ ที่สถานีตำรวจภูธรท้องที่หรือกองบัญชาการ ตำรวจสันติบาลหรือสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และรวบรวมเอกสาร เสนอผู้ว่าราชการจังหวัด 5) ผู้ว่าราชการจังหวัดตรวจสอบข้อมูลและพิจารณาคุณสมบัติ 5.1) กรณีขาดคุณสมบัติ ให้ผู้ว่าราชการแจ้งอำเภอและผู้ขอทราบและให้อุทธรณ์คำขอ 5.2) กรณีมีคุณสมบัติ ให้ผู้ว่าราชการสั่งอนุมัติ ส่งคำขอให้สำนักบริหารการทะเบียน (สน.บท.) กำหนดเลขประจำตัวประชาชน ภายใน 30 วัน และแจ้งให้อำเภอและผู้ขอทราบ ขั้นตอนในส่วนของอำเภอ 90 วัน ขยายระยะเวลาได้ 1 ครั้ง ไม่เกิน 30 วัน และขั้นตอนใน ส่วนของจังหวัด 60 วัน ขยายเวลาได้ 1 ครั้ง ไม่เกิน 30 วัน 2.6 ร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองและส่งเสริมชนเผ่าพื้นเมืองหรือกลุ่มชาติพันธุ์ ตามที่กฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 70 บัญญัติไว้ ว่า… “รัฐพึงส่งเสริมและให้ความคุ้มครองชาวไทยกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ให้มีสิทธิดำรงชีวิต ในสังคมตาม วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตดั้งเดิมตามความสมัครใจได้อย่างสงบสุข ไม่ถูกรบกวน ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเป็นอันตราย ต่อความมั่นคง ของรัฐ หรือสุขภาพอนามัย” นั้น เพื่อให้มีการส่งเสริม อนุรักษ์ และคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์ให้ธำรงไว้ ซึ่งเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ ภาษา วัฒนธรรม และปราศจากการถูกรบกวนวิถีชีวิตอันดีงาม และเพื่อให้ สามารถนำมาใช้ได้และสอดคล้องตามกฎหมายแม่บทดังกล่าว กลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยจึง ได้รวมตัวกันร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านมามีการเสนอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) จากหลากหลายภาค ส่วน ทั้งในส่วนของภาคประชาสังคม ภาคประชาชน ภาครัฐ และจากภาคผู้แทนราษฎร ซึ่งมีจำนวน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3