2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ
34 3. ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. …. เสนอร่างกฎหมายเมื่อปี พ.ศ.2564 โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทย นางมุกดา พงษ์สมบัติ และคณะ ซึ่งรัฐสภามีความเห็นให้เป็นร่างเกี่ยวกับการเงิน สรุปสาระสำคัญ ดังนี้ 1) กำหนดให้ประเทศไทยเป็นพหุชาติพันธุ์และพหุวัฒนธรรม และการส่งเสริมและคุ้มครอง กลุ่มชาติพันธุ์ต้องสอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยผูกพัน (ร่างมาตรา 6 และ มาตรา 7) 2) กำหนดห้ามมีให้ผู้ใดกระทำการเหยียดหยาม สร้างความเกลียดชัง หรือเลือกปฏิบัติทาง เชื้อชาติต่อกลุ่มชาติพันธุ์ (ร่างมาตรา 8) 3) ให้การกำหนดนโยบาย กฎ ระเบียบ มาตรการ โครงการ หรือวิธีปฏิบัติของหน่วยงานรัฐ หน่วยงานเอกชน ในลักษณะที่เป็นการเหยียดหยาม สร้างความเกลียดชัง หรือเลือกปฏิบัติทางเชื้อ ชาติต่อกลุ่มชาติพันธุ์จะกระทำมิได้ โดยให้หมายความรวมถึงการกระทำหรืองดเว้นกระทำการ ที่แม้ จะมิได้มุ่งหมายให้เป็นการเหยียดหยาม สร้างความเกลียดชัง หรือเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติต่อกลุ่มชาติ พันธุ์โดยตรงแต่ผลของการกระทำนั้นทำให้กลุ่มชาติพันธุ์ต้องเสียสิทธิที่ควรได้รับเพราะเหตุแห่งการ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ด้วย (ร่างมาตรา 9) 4) กำหนดห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาหรือเผยแพร่ทางสื่อมวลชนหรือสื่อสารสนเทศประเภทใด อันเป็นการเหยียดหยาม สร้างความเกลียดชัง หรือเลือกปฏิบัติโดยทางเชื้อชาติต่อกลุ่มชาติพันธุ์ ที่ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ เกียรติยศ ชื่อเสียง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือสิทธิซองกลุ่มชาติพันธุ์ (ร่างมาตรา 10) 5) กำหนดให้กลุ่มชาติพันธุ์มีสิทธิอนุรักษ์ พื้นฟู และส่งเสริมภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธร รม ขนบธรรมเนียม และจารีตประเพณีอันดีงาม รวมถึงมีสิทธิใช้ อนุรักษ์ ฟื้นฟู และส่งเสริมภูมิปัญญา ด้านภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ ตลอดจนมีหลักสูตรการศึกษาที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรม (ร่าง มาตรา 11) 6) กำหนดให้กลุ่มชาติพันธุ์มีสิทธิจัดการ บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน ตามวิถีชีวิตและ วัฒนธรรม (ร่างมาตรา 12) 7) กำหนดให้กลุ่มชาติพันธุ์มีสิทธิได้รับการส่งเสริมในการพัฒนาคุณภาพชีวิต (ร่างมาตรา13) 8) กำหนดให้กลุ่มชาติพันธุ์มีสิทธิได้รับการส่งเสริมให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อประโยชน์ ของชุมชน และกิจกรรมที่อาจมีผลกระทบต่อชุมชนและวิถีชาติพันธุ์ รวมทั้งได้รับการคุ้มครองในการ เข้าร่วมและดำเนินกิจกรรม และมีสิทธิได้รับการส่งเสริมในการมีส่วนร่วมในกระบวนการทางสังคม โดยได้รับการจัดสรรที่คำนึงถึงสัดส่วนของกลุ่มชาติพันธุ์ (ร่างมาตรา 14 และมาตรา 15)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3