2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ

35 9) กำหนดให้กลุ่มชาติพันธุ์ได้รับการส่งเสริมและคุ้มครองในการเข้าถึงสาธารณูปโภคขั้น พื้นฐาน สิทธิขั้นพื้นฐานและสิทธิมนุษยชน (ร่างมาตรา 16) 10) กำหนดให้กลุ่มชาติพันธุ์ได้รับการคุ้มครอง มีสิทธิดำรงชีวิตในสังคม สิทธิครอบครอง และสิทธิในการจัดการ พื้นที่ชุมชนและชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม พื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่ทำกิน พื้นที่ทาง วัฒนธรรมและจิตวิญญาณ ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการส่งเสริมและคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์แห่งชาติ ประกาศกำหนด (ร่างมาตรา 17 และมาตรา 24 (4)) 4. ร่างพระราชบัญญัติสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย พ.ศ. …. เสนอร่างกฎหมายเมื่อปี พ.ศ.2564 โดยประชาชน นายศักดิ์ดา แสนมี่ และประชาชนผู้มี สิทธิเลือกตั้ง จำนวน 12,888 คน ซึ่งไม่เป็นร่างการเงิน สรุปสาระสำคัญ ดังนี้ 1) เพื่อให้สิทธิชนเผ่าพื้นเมืองถูกรับรองอย่างเป็นทางการ 2) เพื่อชนเผ่าพื้นเมืองมีโอกาสสามารถแก้ปัญหาด้วยตนเองให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและ วัฒนธรรม และดำรงซึ่งอัตลักษณ์ ภาษา และวัฒนธรรมมิให้มีการสูญหาย 5. ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ และชนเผ่า พื้นเมือง พ.ศ. … เสนอร่างกฎหมายเมื่อปี พ.ศ.2564 โดยประชาชน นายสุริยันต์ ทองหนูเอียด และ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 14,954 คน จากขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) หรือที่เรียกว่า P-Move ซึ่งรัฐสภามีความเห็นให้เป็นร่างเกี่ยวกับการเงิน สรุปสาระสำคัญ 3 ประเด็น ดังนี้ 1) หลักการคุ้มครองสิทธิทางวัฒนธรรม ได้แก่ สิทธิทางวัฒนธรรมและการศึกษา , สิทธิใน ที่ดินและทรัพยากร, สิทธิในการกำหนดตนเอง, สิทธิในความเสมอภาค ไม่ถูกเลือกปฏิบัติ, สิทธิการมี ส่วนร่วม และ สิทธิบริการขั้นพื้นฐานของรัฐ 2) หลักการส่งเสริมศักยภาพกลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อปรับหลักคิดจากการมองชาติพันธุ์เป็นเพียง ผู้ด้อยโอกาส ช่วยเหลือด้วยการสงเคราะห์ เป็นการคุ้มครองสิทธิ และส่งเสริมวิถีชีวิตชาติพันธุ์ , เชื่อมั่นในองค์ความรู้ และศักยภาพของกลุ่มชาติพันธุ์ เปลี่ยนเป็นพลัง มีส่วนร่วมต่อการพัฒนาและ สร้างความมั่นคงให้ประเทศ 3) หลักการสร้างความเสมอภาคบนความหลากหลายทางวัฒนธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ จากอคติ 6. ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. … เริ่มร่างปี พ.ศ.2562 เสนอโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินทร (ศมส) มีสถานะอยู่ระหว่างการ พิจารณาของกระทรวงวัฒนธรรม เนื้อหาสาระมี 3 ประเด็น ดังนี้ 1) หลักการคุ้มครองสิทธิทางวัฒนธรรม

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3