2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ

36 2) หลักการส่งเสริมศักยภาพกลุ่มชาติพันธุ์ 3) หลักการสร้างความเสมอภาคบนความหลากหลายทางวัฒนธรรม 2.7 กฎหมายระหว่างประเทศ สนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนมีลักษณะเป็นสนธิสัญญาพหุภาคี กล่าวคือ เป็นสนธิสัญญาที่ มีรัฐมากกว่าสองรัฐขึ้นไปเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญา ซึ่งกระบวนการทำสนธิสัญญานั้นมีหลายขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การเจรจา การให้ความยินยอมของรัฐเพื่อให้ผูกพันตามสนธิสัญญาโดยการลงนาม การให้ สัตยาบัน การภาคยานุวัติ และในบางรัฐอาจจะตั้งข้อสงวน หรือตีความสนธิสัญญา ซึ่งเมื่อปฏิบัติตาม ขั้นตอนในการทำสัญญาครบถ้วนแล้ว ภาคีก็มีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาต่อไป การเข้าเป็น ภาคีของสนธิสัญญาก่อให้เกิดพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับสนธิสัญญา มิฉะนั้นอาจต้องรับผิด ในทางระหว่างประเทศ ดังนั้น เมื่อประเทศไทยเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน ประเทศ ไทยก็ต้องปฏิบัติตามพันธกรณีของสนธิสัญญาดังกล่าว พันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิ มนุษยชนของไทย (สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, 2558) ซึ่งกฎหมายระหว่าง ประเทศที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยนี้มี 6 ฉบับ ได้แก่ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่ง สหประชาชาติ อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ปฏิญญา สหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 2.7.1 ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Universal Declaration of Human Rights หรือ UDHR) คือ เอกสารที่ทั่วโลกตกลงใช้ร่วมกันเป็นแนวทางไปสู่เสรีภาพและ ความเท่าเทียม โดยการปกป้องสิทธิมนุษยชนของทุกคนในทุกแห่งหน นับเป็นครั้งแรกใน ประวัติศาสตร์ที่นานาประเทศเห็นพ้องกันว่าสิทธิและเสรีภาพเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการปกป้องเพื่อให้ มนุษย์สามารถมีชีวิตอยู่ได้อย่างเสรี เท่าเทียม และมีศักดิ์ศรี (Amnesty International Thailand) หลังสงครามโลกครั้งที่สองประเทศสัมพันธมิตรได้จัดตั้งองค์การสหประชาชาติ (United Nation) องค์การสหประชาชาติลงมติรับรอง “กฎบัตรประชาชาติ” วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2491 สมัชชาใหญ่ แห่งสหประชาชาติได้ลงมติรับรองและประกาศ “ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน” ปัจจุบัน องค์การสหประชาชาติมีสมาชิก 192 สำหรับประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 55 เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2489 เป็นการประกาศเจตนารมณ์ในการร่วมมือระหว่างประเทศในการวางกรอบ เบื้องต้นเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน เป็นเอกสารหลักด้านสิทธิมนุษยชนฉบับแรกของโลกและเป็นพื้นฐาน ของสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนอื่น ๆ (สหประชาชาติ, 2491)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3