2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ
37 ข้อ 1 มนุษย์ทั้งปวงเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในศักดิ์ศรีและสิทธิต่าง ๆ ในตนเอง มี เหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยจิตวิญญาณแห่งภราดรภาพ ข้อ 2 ทุกคนย่อมมีสิทธิ อิสรภาพทั้งปวงตามที่ได้กำหนดไว้ในปฏิญญานี้ โดยปราศจากการ แบ่งแยกไม่ว่ารูปแบบใด อาทิ เชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรือทางอื่น พื้นเพทางชาติหรือสังคม ทรัพย์สิน การเกิด หรือสถานะอื่น นอกจากนี้จะไม่มีการแบ่งแยกใดบน พื้นฐานของสถานะทางการเมือง กฎหมาย หรือการระหว่างประเทศของประเทศ หรือดินแดนที่บุคคล สังกัด ไม่ว่าดินแดนนี้จะเป็นเอกราช หรืออยู่ในความพิทักษ์ไม่ได้ปกครองตนเอง หรืออยู่ภายใต้การ จำกัดอธิปไตยอื่นใด ข้อ 3 ทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิต มีเสรีภาพ และความมั่นคงแห่งบุคคล ข้อ 6 ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการยอมรับทุกแห่งหนว่าเป็นบุคคลตามกฎหมาย ข้อ 7 ทุกคนเสมอภาคกันตามกฎหมาย มีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกัน โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ ข้อ 15 สิทธิที่จะมีสัญชาติ โดยทุกคนมีสิทธิในสัญชาติหนึ่ง ข้อ 25 ทุกคนมีสิทธิในมาตรฐานการครองชีพอันเพียงพอสำหรับสุขภาพและความอยู่ดีของ ตนและของครอบครัว รวมทั้งอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และการดูแลรักษาทางการแพทย์ และ บริการสังคมที่จำเป็น และมีสิทธิในหลักประกันยามว่างงาน เจ็บป่วย พิการ หม้าย วัยชรา หรือ ปราศจากการดำรงชีพอื่นในสภาวะแวดล้อมนอกเหนือการควบคุมของตน จากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ จะเห็นได้ว่าในเอกสารฉบับนี้ได้ บัญญัติรับรองสิทธิและเสรีภาพของมนุษย์ไว้เพื่อให้มีชีวิตอยู่ได้อย่างเสรี เท่าเทียม และมีศักดิ์ศรี ในข้อ 1 เป็นสิทธิที่มีอิสระและเสมอภาคกันในศักดิ์ศรีและสิทธิต่าง ๆ ในตนเอง ข้อ 2 สิทธิและ อิสรภาพโดยปราศจากการแบ่งแยกไม่ว่าชนิดใด อาทิ เชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็น ทางการเมืองหรือทางอื่น ข้อ 3 สิทธิในการมีชีวิต เสรีภาพ และความมั่นคงแห่งบุคคล ข้อ 6 ทุกคนมี สิทธิที่จะได้รับการยอมรับทุกแห่งหนว่าเป็นบุคคลตามกฎหมาย ข้อ 7 ทุกคนเสมอภาคกันตาม กฎหมายและมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน ข้อ 15 สิทธิที่จะมีสัญชาติ และข้อ 25 สิทธิในมาตรฐานการครองชีพอันเพียงพอสำหรับสุขภาพและความอยู่ดีของตน เมื่อ ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ สิทธิต่าง ๆ ในปฏิญญาสากลฉบับนี้ก็ย่อม ครอบคลุมมนุษย์ทุกคนในประเทศไทยด้วย ดังนั้นการที่กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลกำลังสูญเสียวิถีชีวิต วัฒนธรรมดั้งเดิม และการไม่สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของประเทศไทยได้นั้น จึงขัดกับปฏิญญา สากลแห่งสหประชาชาติ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3