2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ

39 ยิ่งสิทธิในการครองสัญชาติ สิทธิในการมีงานทำในการเลือกงานอย่างเสรี ในการมีสภาพในการทางาน ที่เหมาะสมและน่าพอใจ ในการได้รับการคุ้มครองจากสภาพการตกงาน ในการได้รับค่าจ้างที่เท่าเทียม กันกับงานที่ทาในระดับเดียวกัน ในการได้รับผลตอบแทนที่ยุติธรรมและน่าพอใจ สิทธิในการจัดตั้ง และเข้าร่วมสหภาพแรงงาน สิทธิในการมีที่อยู่อาศัย สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุข การดูแลทาง การแพทย์ การประกันสังคม และการบริการทางสังคม สิทธิในการได้รับการศึกษาและการฝึกอบรม และสิทธิในการเข้าร่วมในกิจกรรมทางวัฒนธรรมอย่างเท่าเทียมกันเมื่อประเทศไทยเข้าร่วมเป็นรัฐ ภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ สิทธิดังกล่าวนั้นนั้นจึง ครอบคลุมประชากรทุกคนในประเทศไทยด้วย ดังนั้นการที่กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลกำลังสูญเสียวิถีชีวิต วัฒนธรรมดั้งเดิม และการไม่สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของประเทศไทยได้นั้น จึงขัดกับอนุสัญญา ระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ 2.7.3 อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก(Convention on the Rights of the Child - CRC) โดยการภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ.2535 และมีผลใช้บังคับกับประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2535 (สหประชาชาติ, 2532) ข้อ 2 รัฐภาคีจะเคารพและประกันสิทธิตามที่กาหนดไว้ในอนุสัญญานี้ แก่เด็กแต่ละคนที่อยู่ ในเขตอำนาจของตน โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติไม่ว่าชนิดใด ๆ โดยไม่คำนึงถึง เชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรือทางอื่น ต้นกำเนิดทางชาติ ชาติพันธุ์ หรือสังคม ทรัพย์สิน ความทุพพลภาพ การเกิดหรือสถานะอื่น ๆ ของเด็ก หรือบิดา มารดา หรือผู้ปกครองตาม กฎหมาย และรัฐภาคีจะดำเนินมาตรการที่เหมาะสมทั้งปวง เพื่อที่จะประกันว่าเด็กได้รับการคุ้มครอง จากการเลือกปฏิบัติ หรือการลงโทษในทุกรูปแบบ บนพื้นฐานของสถานภาพ กิจกรรมความคิดเห็นที่ แสดงออกหรือความเชื่อของบิดา มารดา ผู้ปกครองตามกฎหมาย หรือสมาชิกในครอบครัวของเด็ก ข้อ 7 เด็กจะได้รับการจดทะเบียนทันทีหลังการเกิด และจะมีสิทธิที่จะมีชื่อนับแต่เกิด และ สิทธิที่จะได้สัญชาติ และเท่าที่จะเป็นไปได้ สิทธิที่จะรู้จักและได้รับการดูแลเลี้ยงดูจากบิดามารดาของ ตน และรัฐภาคีจะประกันให้มีการปฏิบัติตามสิทธิเหล่านี้ตามกฎหมายภายในและพันธกรณีของรัฐ ภาคีที่มีอยู่ภายใต้ตราสารระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เด็กจะตก อยู่ในสถานะไร้สัญชาติ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก กล่าวถึงการห้ามเลือกปฏิบัติต่อเด็กและการให้ความสำคัญแก่ เด็กทุกคนเท่าเทียมกันโดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างของเด็ก ในเรื่องเชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง ชาติพันธุ์ หรือสังคม ทรัพย์สิน ความทุพพลภาพ การเกิด หรือสถานะอื่น ๆ ของเด็ก หรือบิดามารดา หรือผู้ปกครองทางกฎหมาย ทั้งนี้ เพื่อให้เด็กมีโอกาสที่เท่าเทียมกันการ กระทำหรือการดำเนินการทั้งหลายต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นอันดับแรก สิทธิในการมี

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3