2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ

40 ชีวิต การอยู่รอด และการพัฒนาทางด้านจิตใจ อารมณ์ สังคม ในข้อ 2 กำหนดให้รัฐภาคีจะต้อง เคารพและประกันสิทธิโดยไม่คำนึงถึง เชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ต้นกำเนิดทางชาติ ชาติพันธุ์ หรือสังคม ทรัพย์สิน ความทุพพลภาพ การเกิดหรือสถานะอื่น ๆ ของเด็ก หรือบิดา มารดา หรือ ผู้ปกครองตามกฎหมาย และรัฐภาคีจะต้องดำเนินมาตรการเพื่อที่จะประกันว่าเด็กได้รับการคุ้มครอง จากการเลือกปฏิบัติ และข้อ 7 เด็กจะต้องได้รับการจดทะเบียนทันทีหลังการเกิด มีสิทธิที่จะมีชื่อนับ แต่เกิด และสิทธิที่จะได้สัญชาติ ซึ่งการที่กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลสามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของ ประเทศไทยได้นั้น มีสาเหตุมาจากการไม่ได้รับสัญชาติไทย ทำให้ไม่ได้รับบัตรประชาชน ดังนั้นเด็กที่ เกิดมาจกครอบครัวกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลก็ประสบปัญหานี้เช่นกัน เมื่อประเทศไทยเข้าร่วมเป็นรัฐภาคี ในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก สิทธิดังกล่าวนั้นนั้นจึงครอบคลุมเด็กทุกคนในประเทศไทยด้วย ดังนั้นการ ที่เด็กกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลเกิดมาแล้วไม่ได้รับสัญชาติไทย จึงขัดกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก 2.7.4 กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights - ICCPR) โดยการภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2539 โดยมีผลใช้บังคับกับประเทศไทยเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2540 (สหประชาชาติ, 2539) ข้อ 2 รัฐภาคีแต่ละรัฐแห่งกติกานี้รับที่จะเคารพและประกันแก่ปัจเจกบุคคลทั้งปวงภายใน ดินแดนของตนและภายใต้เขตอำนาจของตนในสิทธิทั้งหลายที่รับรองไว้ในกติกานี้ โดยปราศจากการ แบ่งแยกใด ๆ อาทิ เชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรือความคิดเห็นอื่นใด เผ่าพันธุ์แห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สิน กำเนิด หรือสถานะอื่น ๆ ข้อ 24 เด็กทุกคนย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองโดยมาตรการต่าง ๆ ที่จำเป็นตามสถานะ ของผู้เยาว์ จากครอบครัวของตน สังคมและรัฐ โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติอันเนื่องมาจากเชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา เผ่าพันธุ์แห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สิน หรือกำเนิด และเด็กทุกคนต้องได้รับการ จดทะเบียนทันทีภายหลังการเกิด และต้องมีชื่อ ข้อ 26 บุคคลทั้งปวงย่อมเสมอกันตามกฎหมาย มีสิทธิได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกันโดย ปราศจากการเลือกปฏิบัติ ในกรณีนี้กฎหมายต้องห้ามการเลือกปฏิบัติ และต้องประกันการคุ้มครอง บุคคลทุกคนอย่างเสมอภาคและเป็นผลจริงจังจากการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุผลใด เช่น เชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรือความคิดเห็นอื่นใด เผ่าพันธุ์แห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สิน กำเนิด หรือสถานะอื่น ๆ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง กล่าวถึงพันธกรณีของรัฐ ด้านสิทธิมนุษยชนตามกฎบัตรสหประชาชาติ รวมทั้งหน้าที่ของบุคคลที่จะส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิ มนุษยชน และได้รับสิทธิทั้งด้านพลเมือง การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมอย่างเท่าเทียมกัน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3