2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ

41 ในข้อ 2 กำหนดให้รัฐภาคีแต่ละรัฐเคารพและรับรองสิทธิทั้งหลายของคนในดินแดนโดยปราศจากการ แบ่งแยกใด ๆ ข้อ 24 กำหนดให้เด็กทุกคนย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครอง และในข้อ 26 กำหนดให้คน ทุกคนมีความเสมอภาคและมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกัน โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ ใด ๆ เมื่อประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการ เมืองนี้ ข้อกำหนดดังกล่าวก็ย่อมครอบคลุมประเทศไทยและมนุษย์ทุกคนในแผ่นไทยด้วย ดังนั้นการที่ กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลไม่ได้รับความเสมอภาคนั้น จึงขัดกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง 2.7.5 ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง ประเทศไทยร่วมกับอีก 143 ประเทศลงนามปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิชนเผ่า พื้นเมือง (United Nations Declaration on the Rights of Indigenous Peoples) เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2550 โดยปัจจุบันมี 148 ประเทศร่วมลงนามกับปฏิญญาฉบับนี้ (สหประชาชาติ, 2550) มาตรา 2 ชนเผ่าพื้นเมืองและบุคคลที่เป็นชนเผ่าพื้นเมืองมีเสรีภาพและความเสมอภาคเท่า เทียมกับกลุ่มคนและบุคคลอื่น ๆ และมีสิทธิที่จะใช้สิทธิของเขาโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติในทุก รูปแบบ โดยเฉพาะบนพื้นฐานของความเป็นชนเผ่าพื้นเมืองโดยกำเนิดหรือโดยอัตลักษณ์ของตน มาตรา 6 บุคคลที่เป็นชนเผ่าพื้นเมืองทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับสัญชาติ มาตรา 10 ชนเผ่าพื้นเมืองต้องไม่ถูกบังคับให้ออกจากที่ดินหรือเขตแดนของตน จะไม่มีการ ตั้งถิ่นฐานใหม่เกิดขึ้นโดยปราศจากการยินยอมที่มีการบอกแจ้ง เข้าใจล่วงหน้า และเป็นอิสระของ ชนเผ่าพื้นเมืองที่เกี่ยวข้อง และหลังจากที่มีข้อตกลงในการชดเชยที่เป็นธรรมและเหมาะสมแล้ว และ หากเป็นไปได้ ให้มีทางเลือกในการกลับคืนถิ่นนั้นได้อีก มาตรา 26 ชนเผ่าพื้นเมืองมีสิทธิในที่ดินและเขตแดนและทรัพยากร ซึ่งพวกเขาได้ ครอบครอง เป็น เจ้าของตามประเพณี หรือมิฉะนั้นจากการที่เคยใช้หรือเคยได้รับมาก่อน ชนเผ่าพื้นเมืองมีสิทธิเป็นเจ้าของ ใช้ พัฒนาและควบคุมที่ดิน เขตแดนและทรัพยากรที่พวกเขาเป็น เจ้าของด้วยเหตุผลจากการเป็นเจ้าของตามประเพณี หรือการครอบครองหรือการใช้ตามประเพณีอื่น ๆ รวมทั้งกรณีการได้มาซึ่งสิ่งเหล่านั้นโดยวิธีอื่น และรัฐจักต้องให้การยอมรับและการคุ้มครองในทาง กฎหมายต่อที่ดิน เขตแดนและทรัพยากรเหล่านี้ การยอมรับดังกล่าวจักต้องกระทำโดยการให้ความ เคารพต่อประเพณี วัฒนธรรมและระบบการถือครองที่ดินของชนเผ่าพื้นเมืองที่เกี่ยวข้องด้วย ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง (UNDRIP) ไม่ได้สร้างหรือให้สิทธิ ใหม่ ๆ หรือสิทธิพิเศษหรืออภิสิทธิ์ใด ๆ แก่ชนเผ่าพื้นเมือง แต่เป็นการสะท้อนถึงสิทธิมนุษยชนสากล ที่เกี่ยวกับชนเผ่าพื้นเมือง กล่าวอีกนัยคือ เนื้อหาที่มีอยู่ในตัว UNDRIP นั้นเป็นเนื้อหาที่ดึงหรือเอามา จากกฎหมายสิทธิมนุษยชนสากลที่มีอยู่แล้วหลายฉบับ ดังนั้นการดำเนินงานตามข้อบัญญัติใน ปฏิญญาสหประชาชาชาติว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง จึงเป็นการดำเนินงานตามพันธกรณีของรัฐที่ได้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3