2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ
42 ลงนามหรือให้สัตยาบรรณต่อกฎหมายสิทธิมนุษยชนสากลอยู่แล้ว ข้อโต้เถียงที่ว่า UNDRIP เป็นเพียง คำประกาศแสดงเจตนารมย์เท่านั้นไม่มีนัยในทางกฎหมายใด ๆ สำหรับรัฐเลยนั้น จึงถือเป็นความ เข้าใจที่ผิดในทางกฎหมาย เพราะหน้าที่ของรัฐในการให้ความเคารพ คุ้มครอง และเติมเต็มสิทธิของ ชนเผ่าพื้นเมือง มิได้เกิดขึ้นบนพื้นฐานของพันธกรณีของรัฐที่ต้องปฏิบัติตาม UNDRIP เท่านั้น แต่เป็น หน้าที่ของรัฐที่ต้องปฏิบัติภายใต้เครื่องมือสิทธิมนุษยชนอื่น ๆ อยู่แล้ว (มูลนิธิชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อ การศึกษาและสิ่งแวดล้อม, 2550) จากปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมืองมาตรา 2 ชนเผ่าพื้นเมืองและ บุคคลที่เป็นชนเผ่าพื้นเมืองมีเสรีภาพและความเสมอภาคเท่าเทียมกับกลุ่มคนและบุคคลอื่น ๆ มาตรา 6 มีสิทธิที่จะได้รับสัญชาติ มาตรา มาตรา 10 สิทธิที่จะไม่ถูกบังคับให้ออกจากที่ดินหรือ เขตแดนของตน มาตรา 26 มีสิทธิในที่ดินและเขตแดนและทรัพยากร ซึ่งพวกเขาได้ครอบครอง และ กำหนดให้รัฐต้องให้การยอมรับและการคุ้มครองในทางกฎหมายต่อที่ดินของชนเผ่าพื้นเมือง กลุ่มชาติ พันธุ์ชาวเลในประเทศไทยนั้นก็เป็นชนเผ่าพื้นเมืองหนึ่ง ดังนั้นเมื่อประเทศไทยลงนามในปฏิญญา สหประชาชาติว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองแล้ว ก็ย่อมต้องปฏิบัติตามปฏิญญาฉบับนี้ การที่ยังมีชาวเล จำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานของประเทศไทย และปัญหาวิถีชีวิตวัฒนธรรมของชาวเลกำลัง จะสูญหายไปที่กำลังเกิดขึ้นนั้น ความเป็นจริงดังกล่าวจึงขัดกับปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิชน เผ่าพื้นเมือง 2.7.6 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) คือเป้าหมาย เกี่ยวกับการพัฒนาระดับนานาชาติซึ่งจัดทำขึ้นโดยององค์กรสหประชาชาติ เป้าหมายโลกแห่งการ พัฒนาที่ยั่งยืนนี้ได้เผยแพร่และใช้แทนเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ ที่หมดอายุเมื่อสิ้นปี 2558 โดย SDG s เป็นทิศทางการพัฒนาตั้งแต่ปี 2558 - 2573 ประกอบด้วยเป้าหมายหลัก 17 เป้าหมาย โดยในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) องค์การสหประชาชาติเสนอวาระการพัฒนา 2030 ( Agenda 2030) ในการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ซึ่งวาระการพัฒนาระดับโลกนี้ก็คือการร่วมกัน บ รรลุ เป้ าหม ายก ารพัฒ น าที่ ยั่ งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ภ าย ในปี พ.ศ. 2579 หรือ ค.ศ. 2030 นั่นเอง วาระการพัฒนา 2030และ SDGs ได้รับการตอบรับอย่างดีจาก ประเทศสมาชิก โดยมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 193 ประเทศลงนามรับรองวาระการพัฒนาดังกล่าวใน วันที่25 กันยายน พ.ศ.2558 ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ลงนามรับรองวาระการพัฒนาดังกล่าว หลังจากเสร็จสิ้นการประชุม พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งให้แต่งตั้ง คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) (โครงการวิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน , 2562) โดยเป้าหมายที่เกี่ยวข้องในงานวิจัยฉบับนี้ได้แก่ (สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ, 2558)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3