2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ

43 เป้าหมายที่ 1 ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่ ในทั่วโลก ผู้คนมากกว่า 800 ล้านคน ยังคงอยู่ได้ด้วยเงินน้อยกว่า 1.25 ดอลลาห์ต่อวัน หลายคนยังขาดการเข้าถึงอาหาร น้ำดื่มที่สะอาดและสุขอนามัยที่เพียงพอ การเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในประเทศ เช่น จีนและอินเดีย ได้ช่วยยกระดับประชากรออกจากความยากจน แต่ความเติบโตในเรื่องดังกล่าวก็ยังไม่มีความสม่ำเสมอเท่าใดนัก ประชากรผู้หญิงมีสัดส่วนที่อยู่ใน ความยากจนมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากการเข้าถึงที่ไม่เท่ากันในเรื่องค่าแรงงาน การศึกษาและทรัพย์สิน SDGs มีเป้าหมายที่จะขจัดความยากจนในทุกรูปแบบให้แล้วเสร็จภายในปี 2573 ซึ่งเป้าหมาย ดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่อาศัยอยู่ในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงในการเข้าถึง ทรัพยากรและการบริการขั้นพื้นฐาน รวมถึงช่วยเหลือชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งและ ภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ (United Nations Thailand) กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่ห่างไกลศูนย์กลางการปกครอง โดยส่วนใหญ่ แล้วมักไม่ค่อยมีโอกาสได้สัมผัสกับโลกภายนอก ทำให้ความเจริญยังเข้าไม่ถึงนัก แน่นอนว่าเมื่ออยู่ ห่างไกลความเจริญ ก็เพิ่มความยากที่จะมีรายได้เข้าถึงชุมชน ซึ่งในปัจจุบันบางชุมชนส่วนน้อยของ กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลก็ได้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ชาวเลมีรายได้จากการที่มีนักท่องเที่ยวเข้าไป เยี่ยมชมชุมชน รายได้จากการขับเรือ การขายสินค้าให้นักท่องเที่ยว หรือชาวเลบางคนก็ผันตัวไป รับจ้างเป็นลูกจ้างในรีสอร์ต ซึ่งบางคนก็ไม่ได้มีบัตรประชาชน ทำให้ต้องทำงานไม่ต่างจากแรงงานผิด กฎหมาย รายได้ก็ไม่ค่อยดีนัก ดังนั้นกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลจึงจัดอยู่ในกลุ่มที่มีรายได้น้อย เป้าหมาย ดังกล่าวจึงสอดคล้องกับการคุ้มครองสิทธิวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลภาคใต้ เป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับ ทุกคนในทุกช่วงวัย นับตั้งแต่การสร้างเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ ซึ่งประสบผลสำเร็จอย่างมีคุณค่าใน หน้าประวัติศาสตร์ จากการลดการเสียชีวิตของเด็ก การปรับปรุงสุขภาพของมารดาและการต่อสู้กับ เชื้อเอชไอวี/ เอดส์ มาลาเรียและโรคอื่นๆ ตั้งแต่ปี 2533 สามารถป้องกันการเสียชีวิตของเด็กทั่วโลก โดยลดลงกว่า 50 % และการเสียชีวิตของมารดาก็สามารถลดลงได้ 45% ในทั่วโลก ภาวการณ์ติดเชื้อ เอชไอวีและเอดส์ที่เกิดขึ้นใหม่ สามารถลดลงได้ 30% ในระหว่างปี 2543 ถึงปี 2556 และมากกว่า 6,200,000 ชีวิตได้รับป้องกันจากโรคมาลาเรีย การเสียชีวิตเหล่านี้สามารถหลีกเลี่ยงได้โดยการ ป้องกันและการรักษา การศึกษา แคมเปญการสร้างภูมิคุ้มกันของโรคและการดูแลสุขภาพเพศและ ระบบสืบพันธุ์ เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนมีความมุ่งมั่นที่จะยุติการระบาดของโรคเอดส์ วัณโรค มาลาเรียและโรคติดต่ออื่น ๆ ภายในปี 2573 ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้บรรลุหลักประกันสุขภาพถ้วน หน้าและจัดให้มีการเข้าถึงยาและวัคซีนอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสำหรับทุกคน การสนับสนุน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3