2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ
49 ค.ศ. 1984 จึงมีการบัญญัติกฎหมายเขตปกครองตนเองเพื่อกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดตั้งเขต ปกครองตนเอง เขตปกครองตนเองแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ เขตปกครองตนเองภาค (จังหวัด) เขต ปกครองตนเองอำเภอ และเขตปกครองตนเองตำบล อย่างไรก็ตามตั้งแต่ปี ค.ศ. 1993 เป็นต้นมา รัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ออกประกาศว่าด้วยการจัดตั้งเขตปกครองตนเองหมู่บ้าน ซึ่งมี ชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่หนาแน่น เขตปกครองตนเองมิได้มีฐานะเป็นรัฐแต่เป็นองค์กรปกครองซึ่ง เป็น ส่วนหนี่งของโครงสร้างของการปกครองประเทศองค์กรปกครองตนเองจึงมีความเชื่อมโยงกับ องค์กร ปกครองระดับชาติ ดังจะเห็นได้จากที่กฎหมายรัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติกำหนดการปฏิบัติ เกี่ยวกับ กิจกรรมบางอย่างต้องอยู่ภายใต้การกำกับขององค์กรระดับสูงของรัฐ เช่น การตรากฎหมายของ เขตปกครองตนเองเขตต้องให้คณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติอนุมัติก่อน ประกาศใช้ การพัฒนาเศรษฐกิจของเขตปกครองตนเองต้องเป็นไปในแนวทางเดียวกับแผนพัฒนา เศรษฐกิจของรัฐ เป็นต้น แต่การดำเนินกิจกรรมบางอย่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางภาษาและวัฒนธรรม เป็นไปอย่างอิสระ ดังจะเห็นได้จากที่กฎหมายเขตปกครองตนเองแห่งชาติมีบทบัญญัติ ให้ชนกลุ่มน้อย ใช้ภาษาถิ่นของตนได้ แต่อย่างไรก็ตามให้ใช้ภาษาถิ่นที่เป็นทางการเฉพาะกิจการยุติธรรม ทั้งนี้เพื่อ ธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมตามหลักปฏิบัติในการธำรงความสงบเรียบร้อยอันเป็น ปัจจัยสำคัญของการ อำนวยความสงบสุขแก่มวลชน ตามทฤษฎีแห่งความยุติธรรม (A Theory of Justice) ของจอห์น ราลส์ (John Rawls) ที่อธิบายว่าเป้าประสงค์สุดท้ายของความยุติธรรมคือการอยู่ ร่วมกันในสังคม อย่างสงบสุข (เสถียรภาพ นาหลวง, 2553) การยินยอมให้ชนกลุ่มน้อยใช้ภาษาท้องถิ่นของตนในการยุติธรรม ย่อมเป็นช่องทางในการ สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ชนกลุ่มน้อยเกี่ยวกับการเข้าถึงความยุติธรรมและ เป็นการสร้างให้ ชนกลุ่มน้อยมีความรู้สึกถึงการได้รับการยอมรับของฝ่ายปกครองในการให้ความ เคารพต่อความเป็น ชนชาติของตน การที่จะสร้างชาติได้ต้องให้คนชาติปรองดองกันและอยู่ร่วมกัน ด้วยความหลากหลาย ทางวัฒนธรรม แนวคิดนี้สะท้อนให้เห็นถึงกุศโลบายในการรวมชาติภายใต้ การนำของพรรค คอมมิวนิสต์จีนว่าชนชาติในประเทศจะต้องอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุขและเป็น เอกภาพ ดังที่ได้แสดง ไว้ในตอนต้นของอารัมภบทของรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ความว่า “จีนเป็นประเทศ หนึ่งของโลกที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน พลเมืองของจีนทุกชนชาติร่วมกัน สร้างสรรค์วัฒนธรรมอัน ยิ่งใหญ่ (grandeur) และมีขนบธรรมเนียมที่รุ่งโรจน์” กล่าวได้ว่า จีนเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ประสบ ความสำเร็จในการจัดรูปแบบการปกครองตนเอง ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่น่าเรียนรู้ (เสถียรภาพ นาหลวง, 2553)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3