2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ

53 (1) บิดาหรือมารดาที่อพยพเข้ามาในราชอาณาจักรและอาศัยอยู่เป็นเวลานานตามวรรค หนึ่งต้องมีหรือเคยมีชื่อและรายการบุคคลในทะเบียนประวัติหรือเอกสารการทะเบียนราษฎร มีเลข ประจําตัวประชาชน 13 หลักตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร และต้องเข้ามาใ น ราชอาณาจักรเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบห้าปีนับถึงวันที่บุตรยื่นคําร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือนาย ทะเบียนเพื่อขอมีสัญชาติไทย (2) มีหลักฐานแสดงว่าเกิดในราชอาณาจักร ได้แก่ สูติบัตร ทะเบียนการเกิด หนังสือรับรอง การเกิด (ท.ร.20/1) หรือหนังสือรับรองสถานที่เกิด และต้องมีรายการบุคคลในทะเบียนบ้านหรือ ทะเบียนประวัติตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร แล้วแต่กรณี (3) ไม่ปรากฏหลักฐานการมีและใช้สัญชาติอื่น (4) พูดและฟังภาษาไทยเข้าใจได้ ยกเว้นเด็กที่มีอายุต่ำกว่าเจ็ดปี (5) มีความจงรักภักดีและเลื่อมใสระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (6) มีความประพฤติดี ไม่มีพฤติการณ์ที่เป็นภัยต่อความมั่นคง และถ้าเคยรับโทษคดีอาญา ต้องพ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีนับถึงวันที่ยื่นคําร้องขอมีสัญชาติไทย เว้นแต่เป็นโทษสำหรับ ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือลหุโทษ 2.9.6 ยุทธศาสตร์ความมั่นคงของมนุษย์ พ.ศ. 2561 – 2580 ในระยะเวลาห้าปีที่ผ่านมา มีความก้าวหน้าในการพัฒนานโยบายและกฎหมายที่เอื้อต่อการ เสริมสร้างความมั่นคงของมนุษย์ อาทิ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 แผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรงงานนอกระบบ พ.ศ.2556-2559 มีการกำหนด นโยบายแรงงานข้ามชาติที่สอดคล้องกับความเป็นจริงและสอดคล้องกับสิทธิมนุษยชนมากขึ้น มีการ กำหนดให้เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นสิทธิสำหรับผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป การออกมติ ครม.เพื่อคุ้มครองวิถีชีวิต ของกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าบางกลุ่มอย่างไรก็ดี ยังมีนโยบายและกฎหมายบางส่วนที่เป็นอุปสรรคต่อ การเสริมสร้างความมั่นคงของมนุษย์ และมีความจำเป็นต้องพัฒนา ทบทวนและปรับปรุง กระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในฐานะหน่วยงานหลักด้านความมั่นคงของมนุษย์ควร ประสานงานกับหน่วยงานองค์กรต่าง ๆ เพื่อจัดทำแผนพัฒนานโยบายและกฎหมายที่มีนัยสำคัญต่อ ความมั่นคงของมนุษย์ และประสานงานกับภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคมเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนานโยบาย และกฎหมายดังกล่าวตามโอกาสและลำดับความสำคัญ ทั้งนี้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ สามารถร่วมมือกับคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ซึ่งกำลังศึกษาแนวทางการปรับปรุง กฎหมายเกี่ยวกับสวัสดิการสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กว่า 70 ฉบับ อนึ่ง นโยบายและกฎหมาย ที่มีความสำคัญต่อการเสริมสร้างความมั่นคงของกลุ่มเสี่ยงที่สำคัญในระยะสิบปีข้างหน้า อาทิ นโยบาย รับรองสิทธิความเป็นพลเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่า รวมทั้งขยายขอบเขตแนวนโยบายคุ้มครอง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3