2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ
54 วิถีชีวิตชาวเล และชาวกะเหรี่ยงตามมติครม.ให้ครอบคลุมทุกกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่า (กระทรวง พัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์, 2556) เนื่องจากในยุทธศาสตร์ความมั่นคงของมนุษย์ พ.ศ.2561-2580 มีแนวโน้มความไม่มั่นคง มนุษย์ในอนาคต 10 ปีข้างหน้าที่เชื่อมโยงกับปัญหาของกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่า คือความเสี่ยงที่ไม่มี สถานะทางกฎหมาย การไม่ได้รับสถานะของกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าทางกฎหมายเรียกอีกอย่างหนึ่ง ว่าคนไร้รัฐทางทะเบียน เกิดจากการตกหล่นทางทะเบียนตั้งแต่อดีต แม้ว่าบางส่วนจะได้รับการขึ้น ทะเบียนบุคคล ได้รับเลข 13 หลัก แต่ก็ขึ้นต้นด้วยตัวเลขที่แสดงว่าเป็นบุคคลไร้รัฐทางทะเบียน ซึ่งไม่ มีสิทธิในความเป็นพลเมืองไทย เช่น กลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่า ชนกลุ่มน้อย ขึ้นต้นด้วยเลข 6 และ 7 ความเสี่ยงในแง่มุมของความมั่นคงมนุษย์ของคนกลุ่มนี้ นอกจากจะมีลักษณะของความเสี่ยงทาง การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม อันมีที่มาจากการไม่ได้รับการรับสิทธิพื้นฐานของพลเมือง เฉกเช่น พลเมืองไทยทั่วไปแล้ว ในเบื้องลึกคนกลุ่มนี้ยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่เกิดมาจากความไม่มั่นคงทั้ง ด้านสถานภาพและจิตใจอีกด้วย 2.10 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นิยม ยากรณ์ ได้ศึกษางานวิจัยเรื่อง ปัญหาการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานและสวัสดิการแห่งรัฐ ของคนไร้สัญชาติ โดยหลักสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้ให้ความสำคัญในเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของ กลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่เป็นพลเมืองชั้นสองหรือกลุ่มคนที่ไม่มีสถานะทางกฎหมายรับรองว่าเป็น พลเมืองของรัฐใด กลุ่มชาติพันธุ์ไม่ได้รับการดูแลและเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานและสวัสดิการแห่งรัฐใน การดำรงชีวิตตามมาตรฐานสากล รวมไปถึงกฎระเบียบ มติคณะรัฐมนตรีต่าง ๆ ที่ได้นำมาเพื่อแก้ไข ปัญหาของคนไร้สัญชาติให้ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานตามหลักสากล และกระบวนการพิสูจน์สัญชาติของ ทางราชการนั้นมีหลายขั้นตอน ทำให้เกิดความล่าช้า และเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ทำความใจ กฎหมายและวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง ซึ่งถ้าหากยึดถือตามหลักสิทธิมนุษยชนแล้ว รัฐไทยต้อง คำนึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของคนไร้สัญชาติที่ยังไม่ได้รับการดูแล ดังนี้ (นิยม ยากรณ์, 2560) 1) การจัดตั้งถิ่นฐาน และการดำรงชีพตามวิถีชีวิต ซึ่งจะทำให้กลุ่มคนเหล่านี้มีความมั่นคง ในที่อยู่อาศัย ที่ดินทำกิน และความมั่นคงทางอาหาร ที่ทั่วโลกต่างก็ประสบปัญหาขาดแคลนอาหาร ที่ มีอยู่อย่างจำกัด หากรัฐไทยอนุญาตหรือจัดสรรที่ดินในเขตพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมให้พวกเขาสามารถทำ การเกษตรเพาะปลูกได้ อีกทั้งยังเป็นการฟื้นฟูพื้นที่ว่างเปล่า หรือพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมให้มีประสิทธิภาพ อย่างยั่งยืน 2) การเข้าถึงสิทธิในและสวัสดิการต่าง ๆ เช่น สิทธิการรักษาพยาบาลเมื่อยามเจ็บป่วย ฉุกเฉิน ซึ่งทุกวันนี้ คนไร้สัญชาติที่เข้ารับการรักษาพยาบาลต้องเข้ารับการรักษาที่สถานพยาบาลที่ตน มีรายชื่ออยู่เท่านั้น หากเกิดเจ็บป่วยในพื้นที่อื่นสถานพยาบาลจะถูกปฏิเสธการรักษาทันที การเข้าถึง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3