2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ
55 สิทธิในการศึกษา ซึ่งสถานศึกษาหลายแห่งอนุญาตให้คนไร้สัญชาติเข้าศึกษาได้ แต่เมื่อจบหลักสูตรจะ ไม่สามารถได้รับใบประกาศ หรือใบรับรองคุณวุฒิการศึกษาได้ เนื่องจากติดปัญหาระเบียบของทาง ราชการ ศุภากร เมฆขยาย (2559) ได้ศึกษางานวิจัยเรื่อง การจัดการการศึกษาการศึกษาเด็กไร้ สัญชาติ สรุปผลการวิจัยเป็น 2 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้ 1) ผลการศึกษาหาสาเหตุในการจัดการศึกษาแก่เด็กไร้สัญชาติผลการศึกษาหาสาเหตุใน การจัดการศึกษาแก่เด็กไร้สัญชาติ ค้นพบว่ามีเหตุผลในการดำเนินการ สามประการ ได้แก่ ประการ แรก เป็นไปตามกฎหมายทั้งกฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายมหาชน กฎหมายและระเบียบ รวมถึง มติคณะรัฐมนตรีของไทย ที่จะต้องคำนึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ โดยเฉพาะสิทธิใน การศึกษานั้น เป็นสิทธิที่ได้รับการ รับรอง และคุ้มครองตามกฎหมายระหว่างประเทศ ทั้งที่มีลักษณะ เป็นจารีตประเพณีระหว่างประเทศ ซึ่งได้แก่ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และสนธิสัญญาที่ ประเทศไทยลงนามเป็นภาคี ซึ่งได้แก่ กติการะหว่างประเทศว่าสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรม ค.ศ. 1966 อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ.1989 และอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือก ปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ ค.ศ. 1965 รวมทั้งสนธิสัญญาที่ประเทศไทยไม่ได้ลงนามเป็นภาคี ดังนั้น ประเทศไทยจึงมีพันธกรณีในทางระหว่างประเทศที่ต้องให้การรับรอง และคุ้มครองสิทธิใน การศึกษาของบุคคลตามที่กฎหมายระหว่างประเทศดังกล่าวได้กำหนดไว้ ประการที่สอง จาก การศึกษาพบว่ากฎหมายระหว่างประเทศที่รับรองคุ้มครองสิทธิในการศึกษานี้ ต่างชี้ชัดว่าสิทธิใน การศึกษานี้เป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ซึ่งฐานแห่งสิทธิ คือ “ความเป็นมนุษย์” ดังนั้น มนุษย์ทุกคน ไม่ว่าจะมีเชื้อชาติใด หรือสัญชาติใด หรือเป็น “คนไร้สัญชาติ” ย่อมมีสิทธิในการศึกษาเช่นเดียวกัน ประการที่สาม จะเห็นได้ว่าสนธิสัญญาที่ให้การรับรองสิทธิในการศึกษาดังกล่าว เป็นสนธิสัญญาที่มี ลักษณะเปิดกว้างเพื่อเปิดโอกาสให้ประเทศต่าง ๆ สามารถเข้ามาลงนามเป็นภาคีผูกพันตาม สนธิสัญญาได้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้หลักการที่บัญญัติในสนธิสัญญานั้นถูกนำไปปฏิบัติอย่าง กว้างขวางมากที่สุดในฐานะที่เป็นมาตรฐานขั้นต่ำในการรับรองสิทธิมนุษยชน 2) ผลการศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับเด็กไร้สัญชาติ ผลการศึกษารูปแบบการ จัดการศึกษาสำหรับเด็กไร้สัญชาติ จากการศึกษาเอกสารแนวคิด วรรณกรรมและการลงพื้นที่ ภาคสนาม และการสอบถามความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่ารูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับเด็กไร้ สัญชาติ ควรจัดแบบพหุวิธีการ คือการผสมผสานรูปแบบการจัดทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอก ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อเป็นการสร้างโอกาสและทางเลือกทางการศึกษาให้แก่ผู้เรียน และตอบสนองความต้องการของชุมชนและนักเรียน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายให้ร่วมกันจัด การศึกษาสำหรับเด็กไร้สัญชาติ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3