2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ
56 ประสิทธิ์ ลีปรีชา (2562) ได้งานวิจัยเรื่อง ชนพื้นเมืองกับการเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม ของปกาเกอะญอ แม่แจ่ม ในส่วนของชาวบ้านที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอในพื้นที่ พวกเขาได้ วิเคราะห์และหาแนวทางออกในการแก้ไขปัญหา กล่าวคือในส่วน ของปัญหาสิ่งแวดล้อม ชาวบ้าน บางส่วนได้เริ่มหันกลับไปทำไร่หมุนเวียนเพื่อปลูกข้าวสำหรับบริโภคและทำการเกษตรผสมผสานแทน การทำไร่ข้าวโพดเพื่อขาย ขณะที่ปัญหาหลักที่ชาวบ้านกังวลมากที่สุดคือข่าวการสร้างเขื่อนแม่แจ่มซึ่ง หากเกิดขึ้นจริงในพื้นที่ก็จะท่วมบ้านแม่ซาและชุมชนใกล้เคียง หนึ่งในบรรดายุทธศาสตร์ที่ชาวบ้านได้ ใช้ในการต่อสู้คือความเป็นชนพื้นเมือง เพื่อยืนยันสิทธิขั้นพื้นฐานที่พวกตนมีต่อพื้นที่นี้มายาวนาน ด้วย การอ้างอิงตำนานและความเชื่อที่ผูกพันกับวิถีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กับทั้งประยุกต์พิธีกรรม บวชป่าแบบศาสนาพุทธมาทำการอวยพรป่าแบบศาสนา คริสต์ รวมทั้งการเชื่อมโยงประเด็นการ เคลื่อนไหวคัดค้านการสร้างเขื่อนเข้า กับงานประเพณี พิธีกรรมและกิจกรรมสาธารณะต่าง ๆ เพื่อเป็น การสร้างความเข้าใจและความตระหนักแก่คนในพื้นที่กับสื่อสารสู่เจ้าหน้าที่รัฐและผู้คนภายนอกพื้นที่ ด้วย วาทกรรมการพัฒนาที่คืบคลานจากตะวันตกมายังสังคมไทยได้ แผ่ซ่านเข้าไปยังชุมชนปกา เกอะญอบ้านแม่ซาและใกล้เคียง ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นดินแดนที่อยู่ห่างไกลและค่อนข้างโดดเดี่ยว ในยุคต้นของการพัฒนานั้นชาวบ้านถูกตอกย้ำว่าเป็นผู้ด้อยการพัฒนา จึงต้องรับเอาการพัฒนาที่ ผู้เชี่ยวชาญและนายทุนจากภายนอกนำเข้ามาให้ แต่เมื่อชาวบ้านรับเอาการพัฒนาเข้ามาอย่างเต็มตัว พวกเขากลับถูกตำหนิว่าเป็นผู้ทำลายระบบนิเวศ สร้างปัญหามลพิษทางอากาศ ภัยแล้งและน้ำท่วม เป็นต้น มากกว่านั้นคือ หนี้สินที่นับวันแต่จะพอกพูนและหาทางออกให้หลุดพ้นจากวงจรการถูกเอารัด เอาเปรียบได้ยากยิ่งการหวนกลับสู่การทำไร่หมุนเวียนและสวนเกษตรผสมผสาน จึงเป็นปฏิบัติการ และชุดวาทกรรมที่ชาวบ้านพยายามสร้างขึ้นมา เพื่อรื้อถอนชุดวาทกรรมการพัฒนาตามกระแสทุน นิยมที่คนภายนอกนำเข้ามา ประการสำคัญคือขบวนการเคลื่อนไหวและการยืนยันในสิทธิความเป็น ชนพื้นเมืองได้กลายเป็นวาทกรรมใหม่ที่ชาวปกาเกอะญอในพื้นที่ได้สร้างขึ้นด้วยการเชื่อมโยงกับ แนวคิดและขบวนการเคลื่อนไหวของชนพื้นเมืองในชุมชนอื่นในประเทศไทยและในต่างประเทศ ซึ่งใน ระดับนานาชาตินั้นได้รับการรับรองในปฏิญญาสากลและอนุสัญญาฉบับต่าง ๆ ว่าด้วยชนพื้นเมือง กลุ่มเชื้อชาติ กลุ่มคนด้อยโอกาส และคนชายขอบต่าง ๆ ภายใต้องค์กรต่าง ๆ ในระบบโครงสร้างของ องค์การสหประชาชาติแล้ว และที่ผ่านมารัฐบาลไทยก็ได้ลงนามในปฏิญญาและอนุสัญญาดังกล่าว หากแต่ในระดับปฏิบัตินั้น เจ้าหน้าที่รัฐในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่กลับไม่เข้าใจและขาดการ นำมาใช้ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมเพื่อคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของชาวบ้านในพื้นที่ ดังนั้นขบวนการ เคลื่อนไหวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของชาวปกาเกอะญอบ้านแม่ซาและชุมชนใกล้เคียง จึงเป็นทั้งการ ปกป้องสิทธิความเป็นชนพื้นเมืองและการสร้างชุดวาทกรรมการพัฒนาเพื่อช่วงชิงความหมายของการ พัฒนาที่ถูกนิยามและครอบงำโดยคนอื่นมาโดยตลอด
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3