2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ
57 สิริพร สมบูรณ์บูรณะ (2563) ได้มีงานวิจัยเรื่อง นโยบายการจัดการทางวัฒนธรรมชน พื้นเมือง (นิกริโต) ในประเทศมาเลเซีย พบว่านโยบายต่าง ๆ ที่รัฐดำเนินการให้มีโครงการและ กิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเข้าไปพัฒนากลุ่มโอรังอัสลี เนื่องจากป่าที่เป็นพื้นที่แหล่งอาหารลดลง ทำให้กลุ่ม โอรังอัสลีต้้องปรับตัว ไม่ว่าจะเป็นทั้งอาชีพ การออกจากบ้านเข้าสู่เมือง เปลี่ยนศาสนา เพื่อสร้างการ ยอมรับ ในขณะเดียวกันนี้ พวกเขาก็มีสถานะเป็นพลเมืองชั้นสองของมาเลเซีย จึงจำเป็นต้องสร้างอัต ลักษณ์ให้มีความเหมือนกันกับพลเมืองมาเลเซีย ทั้งที่ความเป็นจริงกลุ่มชนพื้นเมืองมีวิถีชีวิต อัต ลักษณ์ และความเชื่อที่แตกต่างกัน จึงไม่สามารถกล่าวได้ชัดเจนว่าเป็นกลุ่มใดหรือเผ่าใด จึงมักจะ เรียกกลุ่มคนเหล่านี้แบบรวม ๆ ว่า “โอรังอัสลี” นอกจากนี้การพัฒนาก็ยังไม่ได้ดำเนินการทำข้อมูลให้ ถูกต้องและตรงตามความต้องการอีกด้วย การคุ้มครองของรัฐบาลมาเลเซียยิ่งตอกย้ำว่ากลุ่มโอรังอัสลี ไม่มีสิทธิไม่มีมีเสียงใด ๆ เลย เพราะรัฐได้เอาทรัพยากรและที่ดินของชกลุ่มนี้ไปเพื่อทำเป็นสวน ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ระบบการสัมปทาน สาธารณูปโภค เขื่อน ทางหลวง และโครงการต่าง ๆ ยิ่ง เพิ่มภยันตรายและความเสี่ยงให้กลุ่มโอรังอัสลีมากขึ้น ถึงแม้ว่ากฎหมายจะมีการคุ้มครองพวกเขา แต่ ความจริงกลับเป็นการควบคุมพวกเขามากกว่า แสดงให้เห็นว่าถึงแม้รัฐบาลมาเลเซียจะมีนโยบายและ แผนงานพัฒนาช่วยเหลือ แต่ปัญหาหลาย ๆ อย่างก็ยังคงดำรงอยู่ เช่น การไม่ถูกยอมรับในอัตลักษณ์ และการมีตัวตนในฐานะชนพื้นเมือง การขาดการเคารพในสิทธิทางวัฒนธรรม (Cultural Right) ส่งผลให้ถูกกลืนทางวัฒนธรรม ภาษาและวิถีชีวิต ในส่วนของการส่งเสริมด้านเศรษฐกิจ อย่างเช่น การจัดสรรที่ทำกิน การส่งเสริมปลูกพืชเศรษฐกิจ ทำให้พวกเขาต้องพึ่งพาระบบเศรษฐกิจจาก ภายนอก นอกจากนี้ยังมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอื่น ๆ เช่น การประกาศเขตป่าสงวนและเขตป่า อนุรักษ์ทับที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินของชุมชน การโยกย้ายชาวบ้านออกจากพื้นที่คุ้มครอง และ การจำกัดการพัฒนาพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ที่ผ่านมาแม้รัฐบาลมาเลเซียจะมุ่งหวังถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิต ที่ดีขึ้นให้สามารถดำรงอยู่ได้ในสังคม แต่ก็มุ่งไปสู่นโยบายการบูรณาการทางชาติพันธุ์ภายใต้องคาพยพ ของรัฐชาติ โดยขาดการให้ความสำคัญกับสิทธิทางวัฒนธรรมของชนพื้นเมือง ข้อ เสนอแนะแนวทางการจัดก ารสิทธิทางวัฒนธรรมชนพื้น เมือง (นิกริ โต ) ใน ประเทศมาเลเซียที่เหมาะสมและยั่งยืน คือ การส่งเสริมความเป็นเจ้าของ ควรแยกและให้ความสำคัญ กับ “สิทธิทางวัฒนธรรม” และ “สิทธิความเป็นพลเมือง” ควรให้ความสำคัญกับพื้นที่ป่า ซึ่งเป็นชีวิต ของกลุ่มโอรังอัสลี การให้เขาได้รับสิทธิแห่งความหลากหลายทางชาติพันธุ์ การจัดสวัสดิการและ กองทุนชนพื้นเมือง และการปรับเปลี่ยนวิธีคิด (Change the Mindset) ของนักการเมืองและ ข้าราชการทุกระดับ ทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติ ให้เกิดความเข้าใจชนพื้นเมืองและสถานการณ์ที่มี ผลกระทบต่อพวกเขา รวมถึงการลดช่องว่างของการนำนโยบายไปปฏิบัติ จากงานวิจัยทั้ง 4 เรื่องดังกล่าว เห็นได้ว่าเป็นการศึกษาถึงปัญหาภาพรวมเกี่ยวกับ ปัญหา การเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานและสวัสดิการแห่งรัฐของคนไร้สัญชาติ การจัดการการศึกษาการศึกษาเด็ก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3