2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ
60 5) ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง 6) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 7) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 8) พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 9) พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2554 10) พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 11) ยุทธศาสตร์ความมั่นคงของมนุษย์ พ.ศ. 2561 – 2580 12) รัฐบัญญัติว่าด้วยการโยกย้ายถิ่นฐานของชาวอเมริกันอินเดียน 13) รัฐบัญญัติว่าด้วยสัญชาติอเมริกันสำหรับชาวอินเดียน ค.ศ.1924 14) รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน 3.2 การวิจัยภาคสนาม ( Field research) การวิจัยภาคสนามเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลมาจากผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบ โดยตรงจากการคุ้มครองสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลในภาคใต้ ดังนั้นจึงต้องมีกระบวนวิธีการในการ เก็บข้อมูลซึ่งการศึกษานี้กำหนดระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก ( In-depth interviews) สัมภาษณ์เชิงลึกเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงลึก ด้วยการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยตรงกับการคุ้มครองสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลในภาคใต้ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ตามประเด็นที่ ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า และดำเนินการสัมภาษณ์โดยตรงระหว่างผู้วิจัยกับผู้ให้ข้อมูลหลัก 3.2.1 ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประชากรผู้ให้ข้อมูลในการเก็บรวบรวมข้อมูลสัมภาษณ์เชิงลึก ด้วยการสัมภาษณ์ผู้ที่ เกี่ยวข้องโดยตรงกับกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล โดยใช้วีการสัมภาษณ์ตามประเด็นที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า และดำเนินการสัมภาษณ์โดยตรงระหว่างผู้วิจัยกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูล เป็นการสัมภาษณ์ไม่เป็นแบบพิธี โดยมีจำนวนแบ่งผู้ให้ข้อมูลเป็น 3 กลุ่มรวม 19 คน ได้แก่ กลุ่มประชากรชาติพันธุ์ชาวเล ผู้ดูแลอยู่ใน พื้นที่กับกลุ่มชาติพันธุ์ และกลุ่มหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้ 1) กลุ่มประชากรชาติพันธุ์ชาวเล ได้แก่ หัวหน้ากลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล จำนวน 1 คน สมาชิก กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลที่อายุ 18 ปี ขึ้นไป จำนวน 10 คน 2) ผู้ดูแลอยู่ในพื้นที่กับกลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่ ผู้ประสานงานกับกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล จำนวน1คน 3) หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3.2.2 ประเด็นสัมภาษณ์ ผู้วิจัยได้กำหนดแบบคำถามสัมภาษณ์ใช้คำถามเป็นชุดเดียวกันในการสัมภาษณ์ทั้งสามกลุ่ม โดยแบ่งประเด็นคำถามออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3