2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ

62 3.2.3 ขอบเขตด้านพื้นที่ ศึกษาพื้นที่เกาะเหลา ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดระนอง โดยการคัดเลือกพื้นที่ที่จะ ทำการสัมภาษณ์นั้น เนื่องจากกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลนั้นมีการแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ มอแกน มอแกลน และอูรักลาโว้ย ซึ่งกระจายตัวอยู่ในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ 5 จังหวัด ได้แก่จังหวัดสตูล กระบี่ พังงา ภูเก็ต และระนอง ซึ่งจากข้อมูลในบทที่ 2 จะเห็นได้ว่า จังหวัดระนองประกอบไปด้วยชาวเลกลุ่ม มอแกน ซึ่งกลุ่มมอแกนนั้นจะมีความลำบากกว่ากลุ่มมอแกลนและอูรักลาโว้ยในจังหวัดอื่น ๆ ไม่ว่าจะ เป็นเรื่องที่อยู่อาศัย ไม่มีไฟฟ้าใช้ สิทธิในการศึกษา ปัญหาในการรักษาพยาบาล การประกอบพิธีกรรม ตามความเชื่อ ส่วนในเรื่องของบัตรประชาชนนั้น กลุ่มมอแกนเป็นกลุ่มที่ได้รับบัตรประชาชนช้าที่สุด และชุมชนมอแกนเกาะเหลา ตำบลปากน้ำ จังหวัดระนองนั้น ได้ถูกยกให้เป็นหนึ่งในพื้นที่นำร่องเขต สังคมและวัฒนธรรมพิเศษอีกด้วย พื้นที่นำร่องเขตสังคมและวัฒนธรรมพิเศษ เป็นการทดลองที่เกิดจากการตั้งใจจริงของทุก ฝ่ายซึ่งการทำงานในพื้นที่นำร่องจะต้องใช้หลักการมีส่วนร่วม เพื่อที่จะพัฒนาเป็นแนวทางกว้าง ๆ และขยายผลไปยังพื้นที่ชุมชนอื่น ๆ โดยการถูกพิจารณาให้เป็นพื้นที่นำร่องนั้น ต้องมีหลักเกณฑ์ใน การพิจารณา คือ 1) พื้นที่นำร่องต้องครอบคลุมพื้นที่อยู่อาศัย (เช่น หมู่บ้าน) พื้นที่ทำกิน (ทั้งบริเวณชายฝั่ง ทะเล ในทะเล และในป่า) และพื้นที่ทางจิตวิญญาณ (เช่น สุสาน พื้นที่บริเวณศาลเคารพ พื้นที่ ประกอบพิธีกรรมหรืองานประเพณี ฯลฯ) 2) พื้นที่นำร่องต้องมีชุมชนที่มีวัฒนธรรมชาวเล คือมอแกน มอแกลน และอูรักลาโว้ยที่ เข้มแข็ง ชุมชนมีความพร้อม และมีผู้นำในการประสานความร่วมมือได้ หรืออาจเป็นชุมชนที่มี วัฒนธรรมเปราะบางเสี่ยงต่อการสูญหาย 3) พื้นที่นำร่องต้องมีหน่วยงานรัฐและหน่วยงานหรือองค์กรระดับท้องถิ่นที่มีศักยภาพใน การทำงานกับชุมชนชาวเล จะเห็นได้ว่า นอกจากชุมชนมอแกนเกาะเหลา ตำบลปากน้ำ อำเมืองเมือง จังหวัดระนอง เป็นกลุ่มชาวเลมอแกนที่มีความลำบากมากที่สุดซึ่งสามารถมองเห็นปัญหาได้อย่างชัดเจนที่สุดแล้ว การที่ชุมชนแห่งนี้ถูกยกให้เป็นพื้นที่นำร่องเขตสังคมวัฒนธรรมพิเศษ ทำให้ผู้วิจัยเห็นว่าชุมชนนี้มี ความพร้อม มีผู้นำในการประสานงานให้ความร่วมมือ ซึ่งทำให้มั่นใจว่า ผู้วิจัยจะได้ข้อมูลที่เป็น ประโยชน์ต่อการคุ้มครองสิทธิ์กลุ่มชาวเลมากที่สุด 3.3 เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ ชาวเลภาคใต้ เพื่อเป็นแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ ดังนี้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3