2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ
66 คนพ่อแม่ได้สัญชาติไทยแต่ลูกรอสัญชาติไทยมา 15 ปี จนปัจจุบันก็ยังไม่ได้รับสัญชาติไทย ทำให้ กลายเป็นผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ส่วนกลุ่มที่ได้รับสถานะทางทะเบียนแล้ว ก็จะได้รับสิทธิความเป็นพลเมืองไทย มีสัญชาติ ไทย มีบัตรประจำตัวประชาชน ได้เข้าถึงการรักษาพยาบาล ได้รับสิทธิในการศึกษาขั้นพื้นฐาน สามารถทำหนังสือคนประเรือเรือประมงได้ แต่ถึงอย่างไรก็ดีนั้น การได้เข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาล ดังกล่าวนั้น โดยอย่างมากที่สุดคือการรักษาพยาบาลเบื้องต้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำ ตำบล และต้องใช้เวลานานอย่างเช่น ชาวเลหมู่เกาะสุรินทร์ต้องเดินทางด้วยเรือประมงเป็นเวลา ประมาณ 6 ชั่วโมง ชาวเลเกาะหลีเป๊ะต้องเดินทางด้วยเรือประมงเป็นเวลาประมาณ 3 ชั่วโมง กว่าจะ ถึงโรงพยาบาล และในส่วนของการศึกษานั้นเกิดข้อจำกัดด้วยสาเหตุที่ว่า โรงเรียนในพื้นที่เกาะ ห่างไกลนั้นมีระดับการศึกษาสูงสุดแค่ประถมศึกษาปีที่ 6 ยกเว้นเกาะหลีเป๊ะที่มีถึงชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 หรือแค่ ม.ต้น ผลการสัมภาษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล ประเด็นปัญหาการได้รับสัญชาติไทยของกลุ่มชาติ พันธุ์ชาวเลภาคใต้ ได้แสดงความคิดเห็น ดังนี้ 1) กรณีของนางเอ (นามสมมติ) กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลเกาะเหลา จังหวัดระนอง นางเอและ สามีได้รับสัญชาติไทย มีบัตรประจำตัวประชาชน เมื่อนางเอคลอดบุตรโดยหมอตำแยแล้ว สามีได้พา หมอตำแยไปยืนยันกับผู้ใหญ่บ้านว่าได้ทำคลอดให้นางเอจริง เพื่อให้ผู้ใหญ่บ้านออกใบรับรองการเกิด เพื่อนำใบรับรองการเกิดไปแจ้งเกิดต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งที่สำนักงานทะเบียนอำเภอ และนาย ทะเบียนผู้รับแจ้งมีหน้าที่ต้องรับแจ้งการเกิดและออกสูติบัตรให้ผู้แจ้ง แต่ปรากฏว่า เมื่อนางเอและ สามีนำใบรับรองการเกิดไปยังสำนักงานทะเบียนเพื่อแจ้งเกิดบุตร กลับได้รับคำตอบว่า ให้รอการ พิสูจน์สัญชาติของเด็กที่คลอด ตลอดระยะเวลาที่นางเอและสามีได้ติดตามการดำเนินการ จะได้รับ คำตอบเดิมอยู่เสมอ คืออยู่ระหว่างการดำเนินการ ให้รอก จนปัจจุบันเวลาผ่านไปกว่า 10 ปี บุตรทั้ง 2 คนของนางเอ อายุ 15 ปี และ 13 ปี ก็ยังไม่ได้รับสัญชาติไทย ไม่มีสูติบัตร 2) กรณีของนางสาวบี (นามสมมติ) กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลเกาะเหลา จังหวัดระนอง ไม่มีบัตร ประจำตัวประชาชน เคยพาลูกไปไปรักษาที่โรงพยาบาลระนอง และต้องชำระค่ารักษาเอง เมื่อไม่มี เงินจ่ายต้องอุ้มลูกหนีออกจากโรงพยาบาล และไม่ได้ยากลับบ้านเพราะไม่ได้ทำการชำระเงิน 3) กรณีของนางสาวซี (นามสมมติ) กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลเกาะเหลา จังหวัดระนอง ไม่มีบัตร ประจำตัวประชาชน เคยเข้าไปรักษาที่โรงพยาบาลระนอง นอนโรงพยาบาล 1 คืน ต้องจ่ายค่ารักษา ทั้งหมด 1,800 บาท 4) กรณีของนางสาวดี (นามสมมติ) กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลเกาะเหลา จังหวัดระนอง ไม่มีบัตร ประจำตัวประชาชน มีบัตรเลขศูนย์ เป็นใบ้ ไม่เคยได้รับเบี้ยคนพิการเลย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3