2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ

69 2) อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ ได้ กำหนดให้รัฐภาคีประณามการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ และจะจัดให้มีนโยบายที่จะขจัดการเลือก ปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ และส่งเสริมความเข้าใจระหว่างชนทุกเชื้อชาติ และกำหนดให้รัฐภาคี ห้ามและขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติทุกรูปแบบ และจะประกันสิทธิของทุกคนให้มีความเสมอ ภาคกันตามกฎหมาย โดยไม่จำแนกตามเชื้อชาติ สีผิว หรือชาติหรือเผ่าพันธุ์กำเนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สิทธิในการครองสัญชาติ สิทธิในการมีงานทำในการเลือกงานอย่างเสรี การได้รับค่าจ้างที่เท่าเทียมกัน กับงานที่ทำในระดับเดียวกัน การได้รับผลตอบแทนที่ยุติธรรมและน่าพอใจ สิทธิในการได้รับบริการ สาธารณสุข การดูแลทางการแพทย์ การประกันสังคม และการบริการทางสังคม สิทธิในการได้รับ การศึกษาและการฝึกอบรม ซึ่งจากกรณีตัวอย่างที่สามีภรรยากลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลที่มีสัญชาติไทย ไปแจ้งเกิดลูก แต่ลูก ยังไม่ได้รับสัญชาติไทยจนเวลาผ่านไป 15 ปี เมื่อสอบถามยังที่ว่าการอำเภอก็จะได้รับคำตอบเดิมคือ อยู่ในระหว่างดำเนินการพิสูจน์สัญชาติ ให้รอ ในเมื่อพ่อและแม่มีสัญชาติไทยแล้วไม่มีเหตุผลใดที่ลูกที่ เกิดมาจะไม่ได้รับสัญชาติไทย หรือเพียงเพราะพ่อและแม่ที่มาแจ้งเกิดเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลจึงต้องมี การพิสูจน์สัญชาติ ซึ่งไม่สมเหตุสมผลกับเวลา 15 ปี ในการดำเนินการ อีกทั้งยังมีกรณีที่บางคนได้รับ สัญชาติไทยตอนอายุ 60 ปี บางคนรอจนตายไปก็ยังไม่ได้รับสัญชาติไทย การที่ชาวเลโดนเอาเปรียบ ค่าแรงในการจ้างงาน จากข้อเท็จจริงที่ได้กหล่าวมาแล้วนั้น ถือเป็นการเลือกปฏิบัติระหว่างเชื้อชาติ อย่างร้ายแรง ทำให้สูญเสียซึ่งสิทธิอันควรที่จะได้รับในฐานะมนุษย์คนนึง ไม่มีเหตุผลใดที่จะทำให้เด็ก คนนึงจะสูญเสียสิทธิของชีวิตในวัยเด็กไป ไม่ได้รับการศึกษาแม้เพียงขั้นพื้นฐาน ไม่มีเหตุผลใดที่คน ๆ นึงต้องมารอการได้สัญชาติทั้งชีวิต และไม่ควรมีใครต้องถูกเอารัดเอาเปรียบเพียงเพราะเขาเป็นกลุ่ม ชาติพันธุ์ เมื่อประเทศไทยเข้าร่วมเป็นรัฐภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ ในทุกรูปแบบ สิทธิดังกล่าวนั้นนั้นจึงครอบคลุมประชากรทุกคนในประเทศไทยด้วย ดังนั้นการที่กลุ่ม ชาติพันธุ์ชาวเลถูกเลือกปฏิบัติในสังคม การถูกเลือกปฏิบัติจากหน่วยงานของรัฐ จึงขัดกับอนุสัญญา ระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ 3) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก กล่าวถึงการห้ามเลือกปฏิบัติต่อเด็กและการให้ความสำคัญแก่ เด็กทุกคนเท่าเทียมกันโดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างของเด็ก ในเรื่องเชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง ชาติพันธุ์ หรือสังคม ทรัพย์สิน ความทุพพลภาพ การเกิด หรือสถานะอื่น ๆ ของเด็ก หรือบิดามารดา หรือผู้ปกครองทางกฎหมาย ทั้งนี้ เพื่อให้เด็กมีโอกาสที่เท่าเทียมกันการ กระทำหรือการดำเนินการทั้งหลายต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นอันดับแรก รัฐภาคีจะต้อง ดำเนินมาตรการเพื่อที่จะประกันว่าเด็กได้รับการคุ้มครองจากการเลือกปฏิบัติ และได้บัญญัติไว้อย่าง ชัดเจนว่า เด็กจะต้องได้รับการจดทะเบียนทันทีหลังการเกิด มีสิทธิที่จะมีชื่อนับแต่เกิด และสิทธิที่จะ ได้สัญชาติ ซึ่งย้อนแย้งเป็นอย่างยิ่งกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสังคมกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล ยังมีเด็กที่เกิด

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3