2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ
70 จากครอบครัวชาวเลที่ยังไม่ได้รับสัญชาติไทย บางคนอายุ 15 ปี แล้วก็ยังไม่ได้รับสัญชาติไทย ทำให้ ขาดโอกาสในการศึกษาต่อในระดับชั้นที่สูงกว่าประถมศึกษาปีที่ 6 เนื่องจากไม่ได้รับวุฒิการศึกษา เพราะการศึกษาคือรากฐานของชีวิตที่จะทำให้มนุษย์ทุกคนเติบโตไปเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของ สังคม ดังนั้นการที่เด็กคนนึงหลุดออกจากวงโคจรของการศึกษาก่อนวัยอันควร ด้วยอายุ สังคมรอบ ข้าง และวุฒิภาวะที่ยังมีไม่มากพอที่จะแยกแยะสิ่งไม่ดี อาจทำให้เด็กคนนั้นหลงเข้าไปสู่วงโคจรของยา เสพติด การพนัน เป็นผู้ก่ออาชญากรรม ซึ่งแน่นอนว่านอกจากจะส่งผลเสียต่อตัวเองและครอบครัว แล้ว ยังส่งผลเสียต่อสังคมและประเทศชาติอีกด้วย ดังนั้นการที่เด็กกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลเกิดมาแล้ว ไม่ได้รับสัญชาติไทย จึงขัดกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก 4) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง กล่าวถึงพันธกรณีของ รัฐด้านสิทธิมนุษยชนตามกฎบัตรสหประชาชาติ รวมทั้งหน้าที่ของบุคคลที่จะส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิ มนุษยชน และได้รับสิทธิทั้งด้านพลเมือง การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมอย่างเท่าเทียมกัน กำหนดให้รัฐภาคีแต่ละรัฐเคารพและรับรองสิทธิทั้งหลายของคนในดินแดนโดยปราศจากการแบ่งแยก ใด ๆ กำหนดให้เด็กทุกคนย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครอง และกำหนดให้คนทุกคนมีความเสมอภาค และมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกัน โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติใด ๆ ซึ่งจากปัญหาการ ไร้สัญชาติและความไม่มั่นคงในที่อยู่อาศัยและที่ทำกินของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลนั้น แสดงให้เห็นถึง ความเหลื่อมล้ำทางสังคมได้อย่างชัดเจน การเป็นคนไทยเหมือนกัน เกิดในแผ่นดินไทยเหมือนกัน แต่ ผู้คนส่วนมากมีสัญชาติไทย ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานและสวัสดิการต่าง ๆ ของรัฐ ในฐานะพลเมือง ประเทศ แต่ในส่วนน้อยที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์นั้น กลับยังต้องประสบปัญหาการไร้สัญชาติทั้งที่ไม่ควรจะ เกิดด้วยซ้ำกับกลุ่มคนที่เกิดและอาศัยอยู่ในผืนแผ่นดินไทยมากว่า 300 ปี แค่การที่สิทธิความเป็น พลเมืองยังไม่มีก็ถือเป็นการแบ่งแยกชนชั้นอย่างชัดเจนแล้ว เมื่อประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีในกติกา ระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองนี้ ข้อกำหนดดังกล่าวก็ย่อมครอบคลุม ประเทศไทยและมนุษย์ทุกคนในแผ่นไทยด้วย ดังนั้นการที่กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลไม่ได้รับความเสมอภาค นั้น จึงขัดกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง 5) ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง ก็เป็นอีกกฎหมายหนึ่งที่กำหนด ชนเผ่าพื้นเมืองและบุคคลที่เป็นชนเผ่าพื้นเมืองมีเสรีภาพและความเสมอภาคเท่าเทียมกับกลุ่มคนและ บุคคลอื่น ๆ และกำหนดให้ชนเผ่าพื้นเมืองมีสิทธิที่จะได้รับสัญชาติ โดยปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วย สิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง ไม่ได้สร้างหรือให้สิทธิใหม่ ๆ หรือสิทธิพิเศษหรืออภิสิทธิ์ใด ๆ แก่ชนเผ่า พื้นเมืองแต่อย่างใด แต่เป็นการสะท้อนถึงสิทธิมนุษยชนสากลที่เกี่ยวกับชนเผ่าพื้นเมือง ซึ่งรัฐมีหน้าที่ ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามสิทธิมนุษยชน และกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลในประเทศไทยนั้นก็เป็นชนเผ่า พื้นเมืองหนึ่ง ดังนั้นเมื่อประเทศไทยลงนามในปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองแล้ว ก็ย่อมต้องปฏิบัติตามปฏิญญาฉบับนี้ การที่ยังมีชาวเลจำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้รับสัญชาตินั้น เป็นการ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3