2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ
71 ชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยไม่ได้ให้ความสำคัญกับหลักสิทธิมนุษยชนสักเท่าไหร่ แม้กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล จะเป็นส่วนน้อยของประเทศ แต่ความเป็นจริงคือแม้เป็นเพียงส่วนน้อย แต่เขาก็คือมนุษย์ มนุษย์ทุก คนย่อมได้รับความคุ้มครองตามหลักสิทธิมนุษยชนอยู่แล้วโดยไม่มีข้อจำกัดใด ๆ ที่ถือแสดงออกถึงการ แบ่งแยก เป็นหน้าที่ของรัฐบาลไทยที่ต้องคุ้มครองดูแลและให้สัญชาติไทยแก่ชนเผ่าพื้นเมืองใน ประเทศไทย แต่ในทางปฏิบัติกลับไม่เป็นเช่นนั้น 6) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งเป็นเป้าหมายเกี่ยวกับการพัฒนาระดับนานาชาติซึ่ง จัดทำขึ้นโดยององค์กรสหประชาชาติ โดยเป้าหมายที่เกี่ยวข้องในงานวิจัยฉบับนี้ได้แก่ เป้าหมายที่ 1 ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่ กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่ห่างไกลศูนย์กลางการ ปกครอง โดยส่วนใหญ่แล้วมักไม่ค่อยมีโอกาสได้สัมผัสกับโลกภายนอก ทำให้ความเจริญยังเข้าไม่ถึง นัก แน่นอนว่าเมื่ออยู่ห่างไกลความเจริญ ก็เพิ่มความยากที่จะมีรายได้เข้าถึงชุมชน ซึ่งในปัจจุบันบาง ชุมชนส่วนน้อยของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลก็ได้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ชาวเลมีรายได้จากการที่มี นักท่องเที่ยวเข้าไปเยี่ยมชมชุมชน รายได้จากการขับเรือ การขายสินค้าให้นักท่องเที่ยว หรือชาวเล บางคนก็ผันตัวไปรับจ้างเป็นลูกจ้างในรีสอร์ต ซึ่งบางคนก็ไม่ได้มีบัตรประชาชน ทำให้ต้องทำงานไม่ ต่างจากแรงงานผิดกฎหมาย รายได้ก็ไม่ค่อยดีนัก ดังนั้นกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลจึงจัดอยู่ในกลุ่มที่มีรายได้ น้อย เป้าหมายดังกล่าวจึงสอดคล้องกับการคุ้มครองสิทธิวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลภาคใต้ เป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุก คนในทุกช่วงวัย จากปัญหาการไม่ได้รับสัญชาติไทยทำให้กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลไม่สามารถเข้าถึงสิทธิขั้น พื้นฐาน บริการสาธารณะ และสวัสดิการต่าง ๆ ของรัฐได้ เบื้องต้นในทีนี้นั้นหมายถึงบริการพื้นฐานที่ มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์นั่นก็คือสิทธิการรักษาพยาบาล เนื่องจากชาวเลอาศัยอยู่ใน พื้นที่ที่ห่างไกลอำนาจการปกครอง ไม่มีสถานพยาบาลที่สามารถเดินทางเข้ารับการรักาได้อย่าง สะดวกด อีกทั้งสำหรับชาวเลที่ไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนก้ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิดังกล่าวได้ ดังนั้น เป้าหมายดังกล่าวจึงสอดคล้องกับการคุ้มครองสิทธิวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลภาคใต้ เป้าหมายที่ 4 สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่า เทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต จากปัญหาการไม่ได้รับสัญชาติไทย ทำให้ไม่ได้รับ สิทธิขั้นพื้นฐานและบริการสาธารณะ สิทธิที่สำคัญไปไม่แพ้สิทธิในการรักษาพยาบาลนั้นก็คือสิทธิที่จะ ได้รับการศึกษา เพราะการศึกษาเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุด ในการพัฒนาสังคมให้คนซึ่งเป็นสมาชิกของ สังคม เป็นคนมีคุณภาพ คุณธรรม ซึ่งนอกจากชาวเลจะอยู่ในพื้นที่ห่างไกลโรงเรียนแล้ว เด็กชาวเลที่ ไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนก็ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิดังกล่าวได้เช่นกัน ดังนั้นเป้าหมายดังกล่าวจึง สอดคล้องกับการคุ้มครองสิทธิวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลภาคใต้ เป้าหมายที่ 10 เป้าหมายลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ ปัญหาการไม่ได้ รับสัญชาติไทยของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล เป็นปัญหาที่มองเห็นได้ชัดเจนถึงความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3