2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ

72 ถ้ามองในมุมของปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น สิ่งที่ชัดเจนที่สุดน่าจะเป็นความเหลื่อมล้ำในสิทธิต่าง ๆ ซึ่งชาวเล ไม่ได้รับในฐานะที่เป็นพลเมืองไทย ทั้ง ๆ ที่พวกเขาเป็นคนไทย อยู่ในแผ่นดินไทย และเกิดบนแผ่นดิน ไทย แต่ยิ่งไปกว่าความเหลื่อมล้ำทางการกระทำ ก็คือความเหลื่อมล้ำทางความคิด การเหยียดเชื้อชาติ ต้นกำเนิด สีผิว การดูถูก และมองว่ากลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลไม่มีความรู้เท่าตัวคนเมือง ซึ่งต้องยอมรับว่า ในความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมีเหตุการณืแบบนี้เกิดขึ้นจริง ๆ และจากการที่ได้ศึกษากฎหมายไทยพบว่า มีกฎหมายที่คุ้มครองและให้สิทธิกลุ่มชาติพันธุ์ ในการที่จะได้สัญชาติ เพื่อที่กลุ่มชาติพันธุ์จะได้รับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และมีความเสมอภาคทาง สังคม เฉกเช่นเดียวกันกับมนุษย์คนอื่น ๆ โดยในส่วนของกฎหมายไทย มีดังต่อไปนี้ คือ 1) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลเป็นคนที่เกิด ในประเทศไทย ย่อมได้รับความคุ้มครองตามตามกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ซึ่งในมาตรา4 กำหนดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล ได้รับความคุ้มครอง การที่ยังมีกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลที่ยังไม่ได้รับสัญชาติไทย จะเรียกว่าความเสมอภาค ได้อย่างไร ในเมื่อเป็นคนที่เกิดและอาศัยอยู่ในแผ่นดินไทยเหมือนกัน แต่คนนึงมีสัญชาติไทยถูก ยอมรับในฐานะพลเมืองของประเทศ แต่อีกคนไม่มีสิทธิที่ควรจะได้รับ เกิดข้อแตกต่างอย่างชัดเจน ไม่ มีแม้กระทั่งศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ถูกเลือกปฏิบัติ ถูกบังคับให้ใช้ชีวิตอย่างพลเมืองชั้นสอง ต้องอยู่ ด้วยความไม่เท่าเทียม ซึ่งในมาตรา 27 ก็ได้กำหนดการห้ามเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ไม่ ว่าจะด้วยเหตุแห่งถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศและอื่น ๆ แต่ทำไมเมื่อชาวเลไปยังสถานที่ราชการใด ๆ แล้ว ยังต้องถูกเลือกปฏิบัติ ถูกผลักไสไล่ส่ง ถูกตราหน้าว่าเป็นชาวเลไม่ต้องสนใจ ไม่ต้องบริการด้วย ความเต็มใจก็ได้ จะปฏิบัติหน้าที่ให้ล่าช้ายังไงก็ได้ บางคนรอสัญชาติไทยทั้งชีวิตจนตายไปก็มี หรือแท้ ที่จริงแล้ว เจ้าหน้าที่เหล่านั้นไม่ได้เห็นถึงความสำคัญของรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของ ประเทศเลย และในมาตรา70 ก็ได้กำหนดให้รัฐต้องให้การคุ้มครองสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ สิทธิด้าน วัฒนธรรมภาษาและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ โดยให้รัฐคำนึงถึงการส่งเสริมและให้ความคุ้มครองชาวไทย กลุ่มชาติพันธุ์ ให้มีสิทธิในการดำรงชีวิตในสังคมตามวัฒนธรรมประเพณี และวิถีชีวิตดั้งเดิมตามความ สมัครใจอย่างสงบสุข เท่าที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ซึ่งการที่ให้ สัญชาติไทยแก่บุคคลที่เกิดและอาศัยอยู่ในประเทศไทยมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่การ สร้างความร้าวฉานต่อประเทศ แต่ทำไมถึงมีระยะเวลาดำเนินการที่ยาวนานนัก การให้สิทธิที่เขาควรมี ควรเป็นเรื่องลำดับต้น ๆ ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐควรปฏิบัติ ไม่ใช่เป็นเรื่องสุดท้ายที่หน่วยงานรัฐจะสนใจ เพียงเพราะเขาเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ จากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แม้กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลจะมี ความแตกต่าง แต่พวกเขาก็เป็นมนุษย์ ซึ่งแน่นอนว่ามนุษย์ทุกคนล้วนมีสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3