2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ

77 ดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีความล่าช้าเกินสมควร และการเลือกปฏิบัติ ที่ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์ ชาวเล ยากจนลงและมีคุณภาพชีวิตที่ตกต่ำ กลายเป็นบุคคลด้อยโอกาสทางสังคม เป็นจุดอ่อนด้าน ความมั่นคงเพื่อการดำรงชีวิตและอยู่ในสภาวะความยากจน ขาดโอกาสในการรับบริการพื้นฐาน และ มีคุณภาพชีวิตต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนพึงได้รับจากรัฐ ขาดการรับรองสิทธิในฐานะผู้ที่เกิดในแผ่นดินไทย จากการศึกษารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 70 กล่าวถึง สิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ พบว่ากฎหมายไม่ได้กล่าวถึงหรือให้สิทธิกลุ่มชาติพันธุ์ในการได้รับสัญชาติไทย แต่ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 กล่าวคือ “มาตรา 7 บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด (1) ผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่วาจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักร (2) ผู้เกิดในราชอาราจักรไทย ยกเว้นบุคคลตามมาตรา 7 ทวิ วรรคหนึ่ง คำว่าบิดาตาม (1) ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นบิดาของผู้เกิดตาม วิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง แม้ผู้นั้นจะมิได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของผู้เกิดและมิได้จด ทะเบียนรับรองผู้เกิดเป็นบุตรก็ตาม” ประกอบกับ มาตรา 7 ทวิ ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดา และมารดาเป็นคนต่างด้าว ย่อมไม่ได้รับสัญชาติไทย ถ้าในขณะที่เกิดบิดาตามกฎหมาย หรือบิดาซึ่ง มิได้มีการสมรสกับมารดา เมื่อพิจารณาถึง มาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 แสดงให้เห็นถึงการ ได้มาซึ่งสัญชาติไทย มีหลักของการได้มาซึ่งสัญชาติ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ การได้สัญชาติไทยโดยการ เกิด และโดยกระบวนการของกฎหมาย ดังนี้ ประเภทแรก การได้สัญชาติไทยโดยการเกิด แบ่งเป็น 2 กรณี กล่าวคือ 1) ได้โดยหลักสายโลหิต กล่าวคือ บิดาหรือมารดาผู้ให้กำเนิดเป็นผู้มีสัญชาติไทยใน ขณะที่บุตรเกิดทั้งเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย 2) ได้โดยหลักดินแดน ซึ่งจะต้องเป็นผู้ที่เกิดในราชอาณาจักร โดยมีบิดามารดาเป็นคน ต่างด้าวจำแนกได้หลายกรณี เช่น ถ้าบิดามารดามีถิ่นพำนักถาวรในราชอาณาจักร (มีใบสำคัญถิ่นที่ อยู่) บุตรเกิดในราชอาณาจักรจะได้สัญชาติไทยตั้งแต่เกิด แต่ถ้าบิดามารดาไม่มีถิ่นพำนักใน ราชอาณาจักร(มีใบสำคัญถิ่นที่อยู่) บุตรเกิดในราชอาณาจักรจะได้สัญชาติไทยต่อเมื่อต้องยื่นเรื่องขอ สัญชาติไทย และได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจตามกฎหมาย ประเภทที่สอง การได้สัญชาติไทยโดยกระบวนการของกฎหมาย ได้แก่ การยื่นเรื่องและ พิจารณาของบุคคลนั้น แบ่งเป็น 3 กรณี ดังนี้ 1) ภรรยาคนต่างด้าวขอถือสัญชาติตามสามีไทย 2) คนต่างด้าวขอแปลงสัญชาติเป็นไทย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3