2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ

79 ปี พ.ศ.2504 แต่กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลเป็นชนพื้นเมืองที่อาศัยในอยู่แถบอันดามันมายาวนานกว่า 300 ปี จึงแสดงให้เห็นว่าชาวเลอยู่มาก่อนที่จะมีการประกาศดังกล่าว ซึ่งการประกาศเขตอุทยานฯ แน่นอน ว่าการเป็นเขตสงวนนั้นมีการห้ามมีการจับสัตว์ทะเล ซึ่งชาวเลมีวิถีชีวิตผูกพันกับทะเล มีที่อยู่อาศัยติด ชายฝั่งทะเล บางกลุ่มอาศัยอยู่ในทะเล เลี้ยงปากท้องด้วยการจับสัตว์ในทะเล ดังนั้นการที่รัฐประกาศ เขตอุทยานฯ ทับที่อยู่อาศัยและที่ทำกินของชาวเลนั้น ส่งผลให้ชาวเลต้องออกหากินไกลขึ้น ต้องดำน้ำ ลึกขึ้น บางคนทำให้เกิดโรคน้ำหนีบหรืออัมพาตจากการดำน้ำไม่สามารถออกทะเลได้อีก คุณเรียงสีแก้ว เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการมูลนิธิชุมชนไท ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ชาวเลทั้ง 3 กลุ่ม เจอปัญหารูปแบบเดียวกันคือ หารที่รัฐประกาศพื้นที่ที่อยู่อาศัยและที่ทำกินเป็นเขตอุทยาน เกิดการไล่ ต้อนชาวเลให้ไปกระจุกอยู่รวมกันที่เดียว ซึ่งทำให้เกิดความความแออัด ไม่เหมาะสม ในส่วนของการ ทำมาหากินทางทะเล ก็โดนจำกัดเช่นกัน คือ การที่รัฐได้ประกาศให้พื้นที่เป็นเขตอนุรักษ์ ทำให้ชาวเล ไม่สามารถเข้าไปทำประมงในพื้นที่ได้ อีกทั้งในฤดูกาลท่องเที่ยวในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนเมษายน นั้น ชาวเลจะทำงานลำบากมาก ยกตัวอย่างที่เกาะหลีเป๊ะ เกาะสุรินทร์ เจ้าหน้าที่รัฐจะมาบอกว่ามี นักท่องเที่ยวไปดำน้ำ ถ้าชาวเลออกไปหาปูหาปลา จะเกิดอุบัติเหตุกับนักท่องเที่ยวได้ นอกจากนี้ยังมี ปัญหาที่เอกชนอ้างกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน ขับไล่ชาวเลออกจากพื้นที่ โดยส่วนมาก แล้วปัญหาการขับไล่เหล่านี้มักเกิดขึ้นในเกาะที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยว เพราะที่ดินจะมีมูลค่าสูงมาก คุณเนาวนิตย์ แจ่มพิศ แกนนำกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลเกาะเหลา จังหวัดระนอง ได้ให้สัมภาษณ์ ว่า ชาวมอร์แกนอาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวไม่ต่ำกว่า 50 ปี แต่นายทุนอ้างว่าพื้นที่ที่มอร์แกนอยู่เป็นที่ ส.ค.1 มาก่อน (ส.ค.1 คือ ใบแจ้งการครอบครองที่ดินเป็นหลักฐานว่าผู้ครอบครองเป็นผู้แจ้งว่า ตน ครอบครองที่ดินแปลงใดอยู่) แต่พวกนายทุนไม่ได้อยู่ในพื้นที่นี้ ไม่เคยมีใครเห็นพวกนายทุนมาก่อน พวกเค้าเพียงอ้างว่าเป็นสิทธิของเขา นอกจากชาวมอร์แกนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ไม่เคยเห็นพวกนายทุน มาก่อน ก็ยังไม่เคยเห็นพวกเค้ามาสนใจดูแลรักษาผลประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าว หากว่าเป็นสิทธิของ พวกเค้าอยู่ก่อนจริง โดยตัวผู้ให้สัมภาษณ์เองก็อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 ก็ยังไม่เคย เห็นายทุนมาก่อนเลยเช่นกัน โดยตอนที่นายทุนจะออกหนังสือ น.ส.3 (น.ส.3 คือ หนังสือรับรองการ ทำประโยชน์ในที่ดิน ส.ป.ก. ซึ่งเป็นที่ดินที่รัฐให้ประชาชนครอบครองเพื่อปฏิรูปที่ดินเป็นพื้นที่ทำกิน ต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 3 ปี) นายทุนบังคับให้ชาวมอร์แกนพิมพ์ลายนิ้วมือยืนยันว่าที่ตรงนั้นเป็น ของนายทุนโดยมีผู้ใหญ่บ้านและกำนันร่วมมือกันกับนายทุน เพราะนายทุนต้องการขายที่ตรงนั้นที่มี มูลค่า 10 กว่าล้าน เพื่อทำรีสอร์ท ซึ่งที่ตรงนั้นเป็นทางผ่านพอดี สนามเด็กเล่นก็ถูกนายทุนถม รวมไป ถึงสุสาน และบ่อน้ำ ซึ่งปัจจุบันชาวเลที่นี่ไม่มีน้ำสะอาดเพื่อบริโภค จากทฤษฎีว่าด้วยความสมานฉันท์ของสังคมของ ลีออง ดิวกี ก็เป็นเสมือนหลักในการ บัญญัติกฎหมาย กล่าวคือ การเขียนกฎหมาย หรือการใช้กฎหมายที่เป็น เครื่องมือของรัฐควบคุมคน ในสังคมจะต้องตั้งอยู่บนความสำนึกเน้นประโยชน์ร่วมกัน หรือมีการแลกเปลี่ยนความช่วยเหลือซึ่งกัน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3