2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ

80 และกัน มิใช่จะใช้กฎหมายหรือบัญญัติกฎหมาย เพิ่มประโยชน์ต่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพราะการที่ มนุษย์ต้องมีชีวิตอยู่แต่ในสังคมพร้อมความจำเป็นในการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ดังนั้นการที่รัฐ ประกาศพื้นที่ชุมชนและที่ทำมาหากินของชาวเล เป็นเขตอุทยานซึ่งมีกฎห้ามล่าสัตว์ ทำให้ชาวเลต้อง ออกหากินไกลขึ้น ต้องดำน้ำลึกขึ้น บางคนทำให้เกิดโรคน้ำหนีบหรืออัมพาตจากการดำน้ำไม่สามารถ ออกทะเลได้อีก การออกกฎหมายดังกล่าวไม่ได้คำนึงถึงความเป็นอยู่ของชนพื้นเมือง สร้างความ เดือดร้อน สร้างความลำบากในการทำมาหากิน การขัดขวางการทำมาหากินเปรียบเสมือนไปตอกย้ำ ความยากจนให้ชัดเจนขึ้นกว่าเดิม อีกทั้งในฤดูกาลท่องเที่ยวในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนเมษายนนั้น ชาวเลจะทำงานลำบากมาก ยกตัวอย่างที่เกาะหลีเป๊ะ เกาะสุรินทร์ เจ้าหน้าที่รัฐจะมาบอกว่ามี นักท่องเที่ยวไปดำน้ำ ถ้าชาวเลออกไปหาปูหาปลา จะเกิดอุบัติเหตุกับนักท่องเที่ยวได้ นอกจากนี้ยังมี ปัญหาที่เอกชนอ้างกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน ขับไล่ชาวเลออกจากพื้นที่ โดยส่วนมาก แล้วปัญหาการขับไล่เหล่านี้มักเกิดขึ้นในเกาะที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยว รัฐบาลไทยไม่ได้มีการหา ทางออกอย่างสมานฉันท์กับทุกฝ่าย ออกกฎหมายที่ไม่มีการคำนึงถึงผลเสียที่ตามมาที่จะเกิดกับคน กลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ว่าจะอยู่ยังไง จะกินอะไรภายใต้คำว่าอนุรักษ์แต่กลับไปทำลายชีวิตของ มนุษย์ ภายใต้ของคำว่าการท่องเที่ยว แต่เป็นการท่องเที่ยวที่สร้างความเดือดร้อนแก่คนในชุมชน การ กระทำเช่นนี้นอกจากทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคมแล้ว ยังไม่ก่อให้เกิดความสมานฉันท์ในสังคม อีกด้วย ในสหรัฐอเมริกา มีรัฐบัญญัติว่าด้วยการโยกย้ายถิ่นฐานของชาวอเมริกันอินเดียน ซึ่งชาวอินเดียนอเมริกันเป็นฝ่ายที่เสียผลประโยชน์เป็นอย่างมาก รัฐบัญญัติดังกล่าวค่อนข้างมีความ แตกแยกสูง เนื่องจากการโยกย้ายพื้นที่อยู่อาศัยต้องเกิดจากความสมัครใจ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือการ กดดันกับเหล่าบรรดาผู้นำของคนที่เป็นอินเดียนจำนวนมากเมื่อพวกเขาจำเป็นต้องลงนามใน สนธิสัญญาเพื่อทำการตกลงการโยกย้าย เป็นการพยายามโยกย้ายชาวอเมริกันอินเดียน แทบทุกคน ออกจากรัฐต่าง ๆ ในบริเวณภาคตะวันออกของสหรัฐฯ กลายเป็นว่าชาวอินเดียนอเมริกันเป็นคนที่ถูก คนอเมริกันที่มาจากยุโรปไม่ต้องการให้อยู่ร่วมกัน ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่บั่นทอนความรู้สึกของพวกเขาไม่น้อย เลย นี่เลยเป็นตัวอย่างของการออกกฎหมายที่เป็นการกดขี่ข่มเหง ที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง เกิดการ แบ่งแยกอย่างชัดเจน สร้างความเข้าใจแก่ชาวอเมริกันอินเดียนว่าถูกรังเกียจจนต้องพาพวกเขาแยก ออกไปและจำกัดบริเวณ เรียกว่าเขตสงวนของอินเดียนแดง เป็นเขตที่รัฐบาลสหรัฐฯ ได้มีการกำหนด ให้กับชนพื้นเมืองอเมริกาใช้เพื่อเป็นที่ตั้งถิ่นฐานจากการประกาศของรัฐบาล เป็นพื้นที่ที่ชนเผ่า พื้นเมืองอเมริกันจำเป็นต้องย้ายมาตั้งรกรากที่นี่ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1876 แน่นอนว่าการกระทำแบบนี้ถูก มองว่าเป็นการกระทำที่โหดร้ายต่อความเป็นมนุษย์ด้วยกันอย่างมาก หากจะนับพื้นที่เขตสงวนของ อินเดียนแดงหรือพื้นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกันก็จะมีอยู่ด้วยกันกว่า 300 เขต มีเขตสงวน ที่มีขนาดใหญ่กว่า 5 พันตารางกิโลเมตรถึง 9 เขต ขณะที่มีขนาดใหญ่กว่า 3 พันตารางกิโลเมตร

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3