2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ
81 ถึง 12 เขต เลยทีเดียว อย่างไรก็ตามเมื่อปี ค.ศ. 1987 ได้มีกฎหมายออกมาคือชาวอเมริกันอินเดียน สามารถที่จะทำการเปิดคาสิโนได้ รัฐบาลสหรัฐฯ เองก็คาดหวังว่าพวกเขาจะสามารถดำรงชีพต่อไปได้ ในอนาคต โดยจากกรณีของสหรัฐอเมริกาทำให้ทราบว่าการให้ชนพื้นเมืองโยกย้ายจากถิ่นฐานเป็นการ กดขี่ข่มเหง และทำร้ายจิตใจเป็นอย่างมาก ดังนั้นการย้ายพวกเขาออกจากพื้นที่จึงให้เป็นกรณี ตัวอย่างว่าไม่สมควรนำมาทำในประเทศไทย และเมื่อพิจารณาถึงสาธารณรัฐประชาชนจีนที่ถือว่าเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ประสบ ความสำเร็จในการจัดรูปแบบการปกครองตนเอง โดยจีนได้ก่อตั้งระบบการปกครองตนเองของชน กลุ่มน้อย เพื่อแก้ไขปัญหาความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ให้ชนกลุ่มน้อยมีสิทธิปกครองตนเองตาม ลักษณะพิเศษทางวิถีทางวัฒนธรรมและภาษาของชนเผ่าแต่ละกลุ่ม เขตปกครองตนเองแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ เขตปกครองตนเองภาคหรือจังหวัด เขตปกครองตนเองอำเภอ และเขตปกครองตนเอง ตำบล และให้มีเขตปกครองหมู่บ้านซึ่งมีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากด้วย โดยเขตปกครอง ตนเองมิได้มีฐานะเป็นรัฐแต่เป็นองค์กรปกครอง เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับประเทศไทยแล้ว การ ปกครองตนเองเปรียบเสมือนการกระจายอำนาจจากส่วนกลาง สู่ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นของ ไทย แต่ในประเทศไทยไม่มีการกระจายอำนาจส่วนหมู่บ้านเหมือนที่สาธารณรัฐประชาชนจีนมีเขต ปกครองส่วนหมู่บ้าน ซึ่งหลักการกระจายอำนาจการปกครองนี้ ช่วยให้ตอบสนองความต้องการของ ท้องถิ่นได้ดีขึ้น และในส่วนของหมู่บ้านก็เช่นกัน การมีเขตปกครองตนเองสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ชน กลุ่มน้อยเกี่ยวกับการเข้าถึงความยุติธรรม และเป็นการสร้างให้ชนกลุ่มน้อยมีความรู้สึกถึงการได้รับ การยอมรับของฝ่ายปกครองในการให้ความเคารพต่อความเป็นชนชาติของตน เพราะการที่จะสร้าง ชาติได้ต้องให้คนชาติปรองดองกันและอยู่ร่วมกัน ด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรม ถ้าใน ประเทศไทยเพิ่มการกระจายอำนาจไปสู่หมู่บ้านได้ คงจะเป็นผลดีไม่น้อยต่อกลุ่มชาตพันธุ์ชาวเล และ กลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ อีกมายมายในประเทศไทย เพราะจะทำให้พวกเขาได้มีส่วนร่วมในการเสนอแนะ หาทางออกสำหรับปัญหา ซึ่งการให้ผู้ที่ประสบปัญหาได้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหานั้น เป็นการ แก้ปัญหาที่ตรงจุดอย่างแท้จริง และในส่วนของการออกฎหมายกำหนดพื้นที่เป็นเขตอุทยานแห่งชาติทับที่ชุมชนและที่ทำ มาหากินของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล พบว่า พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ประกาศใช้เมื่อ ปี พ.ศ.2504 แต่กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลเป็นชนพื้นเมืองที่อาศัยในอยู่แถบอันดามันมายาวนานกว่า 300 ปี จึงแสดงให้เห็นว่าชาวเลอยู่มาก่อนที่จะมีการประกาศดังกล่าว เพราะ ซึ่งการประกาศเขต อุทยานฯ แน่นอนว่าการเป็นเขตสงวนนั้นมีการห้ามมีการจับสัตว์ทะเล ซึ่งชาวเลมีวิถีชีวิตผูกพันกับ ทะเล มีที่อยู่อาศัยติดชายฝั่งทะเล บางกลุ่มอาศัยอยู่ในทะเล เลี้ยงปากท้องด้วยการจับสัตว์ในทะเล ดังนั้นการที่รัฐประกาศเขตอุทยานฯ ทับที่อยู่อาศัยและที่ทำกินของชาวเลนั้น ส่งผลให้ชาวเลต้องออก หากินไกลขึ้น ต้องดำน้ำลึกขึ้น บางคนทำให้เกิดโรคน้ำหนีบหรืออัมพาตจากการดำน้ำไม่สามารถออก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3