2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ

84 เป็นกฎหมายกลาง และเป็นกฎหมายที่วางมาตรฐานขั้นต่ำเกี่ยวกับการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล โดยมีหลักการให้มีกฎหมายว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล เพื่อรับรองสิทธิของบุคคลทุกคน ที่จะปลอดพ้นจากการถูกเลือกปฏิบัติจากความแตกต่างหลากหลายในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ชาติ พันธุ์ ภาษา เพศ ฯ ให้รัฐมีบทบาทหน้าที่ในการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล ไม่ว่าได้กระทำโดย หน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชน หรือบุคคลใด และเพื่อส่งเสริมและป้องกันไม่ให้เกิดการเลือกปฏิบัติ ต่อบุคคล ตลอดจนคุ้มครองและช่วยเหลือบุคคลซึ่งถูกเลือกปฏิบัติ และป้องกันไม่ให้การเลือกปฏิบัติ ต่อบุคคลเกิดขึ้นซ้ำสอง ซึ่งรัฐสภามีความเห็นให้เป็นร่างเกี่ยวกับการเงิน 3) ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. … เสนอเมื่อปี พ.ศ.2564 โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทย นางมุกดา พงษ์สมบัติ และคณะ มีสาระสำคัญ คือ กำหนดให้ประเทศไทยเป็นพหุชาติพันธุ์และพหุวัฒนธรรม และการส่งเสริมและคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์ ต้องสอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยผูกพัน ห้ามมีให้ผู้ใดกระทำการเหยียดหยาม สร้างความเกลียดชัง หรือเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติต่อกลุ่มชาติพันธุ์ กำหนดนโยบาย กฎ ระเบียบ มาตรการ โครงการ หรือวิธีปฏิบัติของหน่วยงานรัฐ หน่วยงานเอกชน ในลักษณะที่เป็นการเหยียด หยาม เลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติต่อกลุ่มชาติพันธุ์จะกระทำมิได้ ให้กลุ่มชาติพันธุ์มีสิทธิอนุรักษ์ พื้นฟู ส่งเสริม รวมถึงมีสิทธิใช้ อนุรักษ์ ฟื้นฟู และส่งเสริมภูมิปัญญาด้านภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ ตลอดจนมี หลักสูตรการศึกษาที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรม มีสิทธิจัดการ บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน ตามวิถี ชีวิตและวัฒนธรรม ได้รับการส่งเสริมในการพัฒนาคุณภาพเพื่อประโยชน์ของชุมชน กำหนดให้กลุ่ม ชาติพันธุ์ได้รับการส่งเสริมและคุ้มครองในการเข้าถึงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน สิทธิขั้นพื้นฐานและ สิทธิมนุษยชน และให้กลุ่มชาติพันธุ์ได้รับการคุ้มครอง มีสิทธิดำรงชีวิตในสังคม สิทธิครอบครองและ สิทธิในการจัดการพื้นที่ชุมชนและชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม พื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่ทำกิน พื้นที่ทางวัฒนธรรม และจิตวิญญาณ ซึ่งรัฐสภามีความเห็นให้เป็นร่างเกี่ยวกับการเงิน 4) ร่างพระราชบัญญัติสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย พ.ศ. … เสนอเมื่อปี พ.ศ.2564 โดยภาคประชาชน นายศักดิ์ดา แสนมี่ และประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 12 ,888 คน มี สาระสำคัญ คือ เพื่อให้สิทธิชนเผ่าพื้นเมืองถูกรับรองอย่างเป็นทางการ เพื่อชนเผ่าพื้นเมืองมีโอกาส สามารถแก้ปัญหาด้วยตนเองให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรม และดำรงซึ่งอัตลักษณ์ ภาษา และ วัฒนธรรมมิให้มีการสูญหาย ซึ่งไม่เป็นร่างการเงิน 5) ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ และชนเผ่าพื้นเมือง พ.ศ. ... เสนอเมื่อปี พ.ศ.2564 โดยภาคประชาชน นายสุริยันต์ ทองหนูเอียด และประชาชนผู้มีสิทธิ เลือกตั้ง จำนวน 14,954 คน จากขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) หรือที่เรียกว่า P-Move มีสาระสำคัญ คือ สิทธิในความเสมอภาค ไม่ถูกเลือกปฏิบัติ, สิทธิการมีส่วนร่วม และ สิทธิ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3