2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ

87 และจากการศึกษาการคุ้มครองสิทธิและวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลภาคใต้ พบว่า ความไม่มั่นคงในที่อยู่อาศัยและที่ทำกินที่เกิดขึ้นนั้น เป็นเพราะการที่ชาวเลอาศัยอยู่ในที่ที่ไม่มีเอกสาร สิทธิ์ที่สามารถยืนยันได้ว่าชาวเลคือเจ้าของที่ดินและไม่มีกฎหมายใดที่คุ้มครองสิทธิในที่ดินอยู่อาศัย และสิทธิในการทำมาหากินของกลุ่มชาติพันธุ์ อีกทั้งการที่รัฐประกาศพื้นที่เป็นเขตอุทยานแห่งชาติทับ ที่อยู่อาศัยและที่ทำกินของชาวเลนั้น ส่งผลให้ชาวเลต้องออกหากินไกลขึ้น ต้องดำน้ำลึกขึ้น บางคนทำ ให้เกิดโรคน้ำหนีบหรืออัมพาตจากการดำน้ำไม่สามารถออกทะเลได้อีก ต้องเป็นหนี้เป็นสิน ยากจนลง คุณภาพชีวิตตกต่ำ จึงสมควรยกเลิกการให้พื้นที่เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ และเนื่องจากกลุ่มชาติพันธุ์ ชาวเลมีวิถีชีวิตที่แตกต่างออกไป ผู้วิจัยมีความเห็นว่า การที่ไม่มีกฎหมายคุ้มครองสิทธิของกลุ่มชาติ พันธุ์โดยเฉพาะทำให้เกิดความสั่นคลอนในที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน สามารถอภิปรายผลการวิจัยในข้อ ต่อไปนี 5.2. อภิปรายผล 1) ประเด็นสิทธิในการได้รับสัญชาติไทย จากการศึกษาพบว่า สิทธิในการได้สัญชาติได้รับ การคุ้มครองตามหลักสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนต้องมีและได้รับความ คุ้มครอง ซึ่งการที่กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลไม่ได้รับสัญชาติไทยนั้น ทำให้ไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน ซึ่ง บัตรประจำตัวประชาชนเป็นเอกสารสิทธิ์ที่ใช้พิสูจน์ตัวตนและยืนยันสถานภาพของบุคคลตาม กฎหมาย เมื่อไม่มีสัญชาติไทย ไร้ซึ่งบัตรประจำตัวประชาชน สิทธิขั้นพื้นฐาน และสวัสดิการต่าง ๆ ก็ ไม่เกิด สิทธิในการได้รับสัญชาติไม่เพียงแต่ได้รับการคุ้มครองตามหลักสิทธิมนุษยชนเท่านั้น แต่ยัง ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายอีกด้วย กฎหมายระหว่างประเทศที่คุ้มครองและให้สิทธิกลุ่มชาติพันธุ์ ในการได้รับสัญชาติที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคี ได้แก่ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่ง สหประชาชาติได้บัญญัติรับรองสิทธิเสรีภาพของมนุษย์ไว้เพื่อให้มีชีวิตอยู่ได้อย่างเสรี เท่าเทียม และมี ศักดิ์ศรี รวมไปถึงคนทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับสัญชาติอย่างน้อยหนึ่งสัญชาติ อนุสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติทุกรูปแบบก็ได้บัญญัติถึงการห้ามเลือกปฏิบัติด้วย ชาติกำเนิด ให้คนทุกคนมีความเสมอภาคกันตามกฎหมายโดยพาะสิทธิในการครองสัญชาติ อนุสัญญา ว่าด้วยสิทธิเด็กบัญญัติให้เด็กมีสิทธิที่จะได้รับสัญชาตินับตั้งแต่เกิด อีกทั้งกติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองได้บัญญัติให้รัฐภาคีรับรองสิทธิทั้งหลายของคนในดินแดนโดย ปราศจากการเลือกปฏิบัติใด ๆ และปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง ก็เป็นอีก กฎหมายหนึ่งที่บัญญัติให้ชนพื้นเมืองมีเสรีภาพและความเสมอภาคเท่าเทียมกับกลุ่มคนหรือบุคคล อื่นๆ และได้บัญญัติให้ชนเผ่าพื้นเมืองมีสิทธิที่จะได้รับสัญชาติด้วย เมื่อประเทศไทยเข้าเป็นภาคี สนธิสัญญาด้ายสิทธิมนุษยชนที่กล่าวมาแล้ว ประเทศไทยก็ต้องปฏิบัติตามพันธะกรณีของสนธิสัญญา ดังกล่าวด้วย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3