2566-1 นางสาวธรารินทร์ ณัฐวริทธิโภคิน -การค้นคว้าอิสระ
88 นอกจากกฎหมายระหว่างประเทศแล้ว ในประเทศไทยยังมีกฎหมายที่บัญญัติถึงศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ที่บัญญัติให้สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย การห้ามการเลือก ปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ห้ามเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งชาติกำเนิด หรือเชื้อชาติ และยัง บัญญัติให้รัฐต้องคุ้มครองสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ แต่มิได้กล่าวถึงสิทธิในการได้สัญชาติแก่กลุ่มชาติพันธุ์ แต่อย่างใด และในพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 กำหนดผู้ที่เกิดในราชอาณาจักรไทย ย่อมได้ สัญชาติไทยโดยการเกิด โดยกฎหมายดังกล่าวมิได้ระบุให้ชัดเจนถึงกรณีการได้สัญชาติไทยของกลุ่ม ชาติพันธุ์ จากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 จะเห็นได้ว่า กฎหมายมิได้มีการ กล่าวถึงสิทธิในการได้รับสัญชาติของกลุ่มชาติพันธุ์ไว้เลย ถึงแม้รัฐธรรมนูญของไทยจะระบุถึงความ เท่าเทียมและไม่เลือกปฏิบัติต่อเชื้อชาติ ด้วยเหตุนี้จึงก่อให้เกิดช่องว่างทางกฎหมาย เกิดความ คลุมเครือในความหมายแห่งตัวบทกฎหมาย ทำให้ไม่สามารถยืนยันได้อย่างชัดเจนว่ากลุ่มชาติพันธุ์ ชาวเลมีสิทธิที่จะได้รับสัญชาติไทย และจากพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ก็เช่นเดียวกัน แม้จะ ระบุให้ผู้ที่เกิดในราชอาณาจักรไทย ย่อมได้รับสัญชาติไทย แต่ก็ไม่ได้ระบุถึงวิธีการได้สัญชาติไทยของ กลุ่มชาติพันธุ์ไว้ ในทางปฏิบัติจึงทำให้เกิดความคลุมเครือในการตีความหมายว่า ผู้ที่เกิดใน ราชอาณาจักรไทยในทีนี้ รวมถึงกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ที่ตกสำรวจชื่อในทะเบียนราษฎรมาตั้งแต่รุ่น บรรพบุรุษด้วยหรือไม่ กฎหมายดังกล่าวจึงมีความไม่ชัดเจน และจากประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการสั่งให้คนที่เกิดในราชอาณาจักรและไม่ได้รับ สัญชาติไทย โดยมีบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าว ได้สัญชาติไทยเป็นการทั่วไป และการให้สัญชาติ ไทยเป็นการเฉพาะราย ลงวันที่ 16 กุมภาพันธุ์ 2560 จะเห็นได้ว่าในข้อ 2 ได้กำหนดให้ผู้มีคุณสมบัติ และมีความประสงค์ที่จะขอสัญชาติยื่นคำร้องขอสัญชาติ ณ ที่ว่าการอำเภอ ถึงอย่างไรก็ดีนั้นเนื่องจาก พื้นที่ที่กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลอาศัยเป็นพื้นที่ห่างไกล และประชากรส่วนใหญ่ก็ไม่ได้เรียนหนังสือ การที่ จะไปติดต่อราชการจึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก ประกาศฯ ดังกล่าวจึงยังเป็นปัญหาต่อกลุ่มชาติพันธุ์ ชาวเล ทั้งในเรื่องการเดินทาง ค่าใช้จ่าย และความไม่รู้หนังสือ แนวทางแก้ไขสิทธิในการได้รับสัญชาติไทย จากการศึกษาพบว่า เมื่อกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลไม่ได้รับสัญชาติไทย ทำให้ไม่มีบัตรประจำตัว ประชาชน ส่งผลให้ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานและสวัสดิการต่าง ๆ ของรัฐได้ ซึ่งเมื่อพิจารณา จากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 แล้ว ในมาตรา 70 ที่กล่าวถึงสิทธิของกลุ่ม ชาติพันธุ์ ปรากฏว่า กฎหมายดังกล่าวไม่ได้กล่าวถึงหรือให้สิทธิกลุ่มชาติพันธุ์ในการได้รับสัญชาติไทย แต่อย่างใด แต่ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติสัญชาติ ซึ่งจากการพิจารณาพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ในมาตรา 7 ที่กล่าวถึงบุคคลที่ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด ไม่ได้มีการกล่าวถึงกรณีของ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3