2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์
89 ตัวอย่าง กรณีชาวเน็ตไทยไปคอมเมนท์บูลลี่หนุ่มญี่ปุ่นซึ่งไลฟ์สดขณะเล่นเข็มขัดไรเดอร์ใน แพลตฟอร์ม TikTok เข้าไปแสดงความคิดเห็นเชิงบูลลี่กับคลิปวิดีโอการเล่นเข็มขัดไรเดอร์ของ ชายหนุ่มคนดังกล่าว โดย…ล้อเรื่องฟัน บอกให้ไปรับยา หรือบอกว่าคนแนวนี้ทาไมเหมือน ๆ กันหมด บ้าง จากกรณีนี้เห็นว่า การกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์นั้น สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา ตลอด 24 ชั่วโมง ทั่วทุกมุมโลกที่เพียงเชื่อมถึงกันได้ด้วยเครือข่ายสังคมออนไลน์ ก็สามารถบูลลี่กันได้แล้ว และไม่ได้เกิดขึ้นเพียงแค่บูลลี่กันภายในประเทศเท่านั้น ภาพที่ 15 การ Cyberbullying ชาวญี่ปุ่น ผ่าน TikTok (ที่มา : CatDumb, 2563) จากตัวอย่างดังกล่าวเป็นการถูกบูลลี่โดยไม่ทราบสาเหตุ เห็นได้ว่าการที่เราใช้ชีวิตประกอบ อาชีพปกติ ไม่ได้ก่อความเดือนร้อน หรือสร้างความราคาญให้กับใคร ยังไม่พ้นจากการถูกกระทาบูลลี่ หรือถูกกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ สะท้อนให้เห็นว่าพื้นที่บนสื่อสังคมออนไลน์ ไม่ใช่พื้นที่ สาธารณะที่ปลอดภัย การถูกบูลลี่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ไม่มีเซฟโซนบนโลกออนไลน์ การใช้ ชีวิตแบบไหนถึงจะถูกไม่บูลลี่ อีกทั้งยังมีช่องว่างทางกฎหมายที่ไม่สามารถเอาผิดกับผู้กระทาได้ การกลั่นแกล้งรังแกทางสื่อสังคมออนไลน์ทั้ง 4 รูปแบบข้างต้น เห็นได้ว่าการกลั่นแกล้งทาง สื่อสังคมออนไลน์เกิดขึ้นมากที่สุด คือการบูลลี่เรื่องรูปร่างหน้าตา ซึ่งข้อมูลที่ค้นพบสอดคล้องกับ ข้อมูลขอ งกรมสุขภาพจิต ระบุว่าประเทศไทยติดอันดับการบูลลี่เป็นที่ 2 ของโลกในปี พ.ศ. 2563 โดยพฤติกรรมการกระทาที่คนไทยส่วนใหญ่ใช้กันมากที่สุดเป็นเรื่องของ ข้อความ ถ้อยคา ความคิด ทัศนคติ รูปลักษณ์ เพศ ไม่สวย ไม่หล่อ ขี้เหร่ สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นการล่วงละเมิดสิทธิความเป็น ส่วนตัวของบุคคล ที่ยังขาดการคุ้มครองจากหน่วยงานรัฐและกฎหมายอย่างเด็ดขาด 4.1.2 ผลกระทบของกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศไทย โดยผลกระทบจากการถูกการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ จากข้อมูล (ศูนย์ให้ คาปรึกษาปัญหาชีวิต นักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ , 2566)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3