2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์
92 ที่เกิดขึ้นมีระดับของความรุนแรงมากกว่าการกลั่นแกล้งแบบดั้งเดิม และจากการสารวจของ กรมสุขภาพจิตพบว่า เด็กกว่าร้อยละ 91 เคยถูกบูลลี่ และอีกร้อยละ 43 คิดจะตอบโต้เอาคืน สอดคล้องกับผลการวิจัยเรื่องการถูกกลั่นแกล้งผ่านโลกไซเบอร์และความเสี่ยงต่อการ ฆ่าตัวตายในเยาวชน ที่พบว่าเยาวชนที่ถูกกลั่นแกล้งผ่านสื่อสังคมออนไลน์ มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัว ตายถึงร้อยละ 39.50 ในจานวนนี้ร้อยละ 54.20 มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายอยู่ในระดับรุนแรง อย่างกรณีการ ฆ่าตัวตายของ Rehtaeh Parsons นักเรียนมัธยมที่ได้ผูกคอตายในห้องน้าบ้านพักของ ตัวเองซึ่งอยู่ในเมือง Dartmouth ของรัฐ Scotia ประเทศแคนาดา การฆ่าตัวตายของ ของ Megan Taylor Meier อายุ 13 ปี อาศัยอยู่ที่เมืองโอฟัลลอน (O’Fallon) รัฐมิสซูรี สหรัฐอเมริกา และการ ฆ่าตัวตายของ Allem Halkic ที่อาศัยอยูในเครือรัฐออสเตรีย ทั้งนี้ผลกระทบที่เกิดขึ้นอาจนาไปสู่ ผลกระทบที่รุนแรงขึ้น ความคึกคะนองด้วยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจของใครบางคน อาจจะทาให้อีกคน สูญเสียเสรีภาพในการดารงชีวิต การกลั่นแกล้งบนสื่อสังคมออนไลน์ก็เช่นเดียวกัน แม้สังคมไทยจะเริ่ม ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว แต่ยังคงเป็นปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง โดยคนที่ถูกกลั่นแกล้ง นั้นจะเกิดการสั่งสมความกลัว ส่งผลให้เกิดความไม่มั่นใจในตนเอง ซึ่งเป็นการสร้างความรุนแรงใน ระยะยาว ยิ่งมีการกลั่นแกล้งบนสื่อสังคมออนไลน์บ่อยครั้ง ยิ่งทาให้ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อหรือถูกกลั่นแกล้ง มีความเสี่ยงมากขึ้น และอาจเกิดปัญหาในการใช้ชีวิตประจาวัน หรือมีปัญหาการเข้าสังคมตามมาและ เป็นภัยเงียบอย่างคาดไม่ถึง ประเทศไทยโดยเฉพาะรัฐ ไม่ควรนิ่งเฉยกับปัญหาของบุคคลที่ถูก กลั่นแกล้งบนสื่อสังคมออนไลน์ รัฐควรต้องหาทางป้องกันด้วยการกาหนดมาตร การควบคุม เพื่อป้องกันมิให้เกิดโศกนาฏกรรมดังที่ปรากฏดังตัวอย่างการฆ่าตัวตายที่เกิดขึ้นในประเทศแคนนาดา เครือรัฐออสเตรเลีย หรือสหรัฐอเมริกา ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น 4.2 กฎหมายควบคุมการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างประเทศและประเทศไทย ในยุคที่ผู้คนทุกเพศ ทุกวัยสามารถเข้าถึงเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ ผ่านการใช้สื่อสังคมออนไลน์ อาทิ เช่น Facebook Twitter Instagram ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ ทุกเวลาจากทั่วทุกมุมโลก โดยอาจกล่าวได้ว่าจะเป็นการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อความบันเทิง ใช้เป็นช่องทางในการติดต่อ ประสานงาน หรือติดต่อธุรกิจ ส่งผลให้สื่อสังคมออนไลน์เข้ามามีบทบาทในการใช้ชีวิตของผู้คนมาก ยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันก็กลายเป็นปัจจัยสาคัญที่เอื้อให้เกิดการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ ได้โดยง่ายขึ้นเช่นกัน เนื่องจากการโพสต์ หรือการเข้าถึงเนื้อหาออนไลน์ทาได้ง่ายและในบางครั้ง ผู้ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ไม่ต้องการเปิดเผยว่าใครเป็นคนโพสต์ หรือใครเป็นคนอ่านเรื่องนี้ การปกปิด ตัวตนบนโลกออนไลน์ ทาให้การโพสต์หรือวิจารณ์ต่าง ๆ ในประเด็นที่ละเอียดอ่อนทาได้อย่างเสรี ซึ่งอาจสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ดีได้ แต่ถ้าทาโดยขาดจิตสานึกก็อาจเป็นภัยกับสังคมออนไลน์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3