2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์

100 คาพูดในลักษณะนี้ ก็ไม่อาจนามาตรา 326 มาปรับใช้ได้กับกรณีนี้ได้ แต่ในขณะเดียวกันคาพูดหรือ การวิพากษ์วิจารณ์เหล่านั้น กลับทาให้ผู้ถูกกลั่นแกล้งรู้สึกกระทบกระเทือนทางจิตใจได้ นอกจากนี้ ความผิดฐานหมิ่นประมาทมาตรา 326 จาเป็นต้องมีบุคคลที่สามเข้ามา เกี่ยวข้อง เมื่อผู้กลั่นแกล้งใช้สื่อสังคมออน ไลน์ส่งข้อความผ่านอุปกรณ์ อิ เล็กทรอนิกส์ ถึงผู้ถูกกลั่นแกล้งโดยตรงด้วยถ้อยคา ข้อความ รูปภาพ การให้ร้าย การด่าว่า โดยมีเจตนากลั่นแกล้ง โดยใช้สื่อทางออนไลน์ เมื่อไม่มีบุคคลที่สามทราบถึงข้อความนั้น จึงไม่ครบองค์ประกอบของการ ใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม ดังนั้น จึงไม่สามารถนาประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 มาปรับใช้ กับกรณีของบุคคลที่ถูกกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ได้ แต่ในขณะเดียวกันประมวลกฎหมายอาญา ได้ยกเว้นความผิดฐานหมิ่นประมาทเพื่อ คุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นไว้ใน มาตรา 329 (3) ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความ ใดโดยสุจริต ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทา ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท จะเห็นได้ว่าความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมาย อาญายังมีข้อยกเว้นความรับผิดให้สาหรับการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต ซึ่งข้อยกเว้นตาม มาตรา 329 (3) หากเป็นการแสดงความเห็นติชม วิพากษ์วิจารณ์ ในลักษณะที่ประชาชนทั่วไปต่างก็กระทา กันเป็นปกติวิสัย แม้ว่าอาจจะเป็นการใส่ความบุคคลอื่นให้เสียหายอยู่บ้างก็ตาม ก็ยังได้รับการยกเว้น ไม่ถือเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ซึ่งข้อยกเว้นข้อนี้ทาให้การวิพากษ์วิจารณ์ผู้มีอานาจรัฐ หรือการ วิจารณ์สิ่งที่ไม่ถูกต้องในสังคมได้รับความคุ้มครอง เห็นได้จากคาพิพากษาศาลฎีกาที่ 2813/2559 วินิจฉัยกรณีเปิดบ่อนที่มีเจ้าพนักงานตารวจชั้นผู้ใหญ่เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย มิใช่เป็นเพียงข้อเท็จจริงที่ ประชาชนโดยทั่วไปประสงค์จะทราบเท่านั้น เพราะเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปว่า การพนันเป็นการมอมเมา ประชาชนให้หลงในอบายมุข การที่จาเลยทั้งสองสัมภาษณ์ พล.ต.อ. ส. ประธานสอบข้อเท็จจริงกรณี บ่อนรัชดาซึ่งมีหน้าที่โดยตรง ก็เพื่อทาให้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้องปรากฏ และเชื่อว่าจาเลยทั้งสองกระทา ไปโดยสุจริต เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทา แม้จะมีข้อความหมิ่นประมาท การกระทานั้นย่อมไม่เป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 329 (3) สาหรับการหมิ่นประมาทที่กฎหมายยกเว้นโทษตาม มาตรา 330 ในกรณีหมิ่นประมาท ถ้าผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทาความผิด พิสูจน์ได้ว่าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นความจริง ผู้นั้นไม่ ต้องรับโทษ แต่ห้ามไม่ให้พิสูจน์ ถ้าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัว และการพิสูจน์จะไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน มาตรา 330 เป็นการยกเว้นให้อีกชั้นหนึ่งสาหรับการ วิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องที่เป็นประโยชน์สาธารณะ และเป็นการพูดความจริง หรือเป็นกรณีที่ผู้ที่พูดนั้น เชื่อโดยสุจริตว่า สิ่งที่พูดเป็นความจริง ถ้าหากแสดงความคิดเห็นภายในกรอบนี้แม้จะเป็นความผิดแต่

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3