2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์
101 ก็ไม่ต้องรับโทษ แต่ห้ามไม่ให้พิสูจน์ ถ้าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัว และการพิสูจน์จะไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน นอกจากนี้ มาตรา 331 คู่ความ หรือทนายความของคู่ความ ซึ่งแสดงความคิดเห็น หรือ ข้อความในกระบวนพิจารณาคดีในศาลเพื่อประโยชน์แก่คดีของตน ไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท นั้นอาจเป็นเพราะการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตแม้ข้อความที่แสดงความคิดเห็นนั้นจะเป็นการ ใส่ความของบุคคลอื่นให้ได้รับความเสียหายอยู่บ้างก็ได้รับการยกเว้น ไม่ถือเป็นความผิดฐาน หมิ่นประมาท นอกจากนี้คู่ความหรือทนายความของคู่ความซึ่งได้แสดงความเห็นของตน ในกระบวนการพิจารณาคดีในศาลเพื่อประโยชน์แก่คดีของตนก็ได้รับการยกเว้นด้วย จากคาพิพากษาศาลฎีกาและประมวลกฎหมาย มาตรา 329 มาตรา 330 และมาตรา 331 เป็นการบัญญัติให้ลงโทษและยกเว้นโทษที่เป็นการแสดงความคิดเห็น หรือข้อความโดยสุจริตที่ เข้าองค์ประกอบที่ว่า “น่าจะ” ทาให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง จึงจะมีความผิดฐาน หมิ่นประมาท แต่การแสดงความคิดเห็นทางสื่อสังคมออนไลน์ แม้ว่าทุกคนมีสิทธิ์ที่จะแสดงควา ม คิดเห็นผ่านสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ในพื้นที่ของตัวเองได้อย่างอิสระ แต่ถ้อยคาและข้อความที่ แสดงออกจะเป็นการพูดในลักษณะของการติชมตามปกติวิสัย การวิพากษ์วิจารณ์หน้าตา รูปร่าง หรือ การแต่งกาย โดยพูดหรือวิจารณ์ตามความเป็นจริง ตามความรู้สึก รวมไปถึงการพูดจาหยาบคาย เปรียบเปรย เหน็บแนม โดยไม่ถึงขนาดที่จะทาให้ผู้ถูกกลั่นแกล้งจะเสื่อมความน่าเชื่อถือ เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง หรือเป็นการประทุษร้ายต่อเกียรติที่บุคคลมีอยู่ในสังคมแต่อย่างใด แม้ว่า ผู้กระทาการกลั่นแกล้งต้องมีเจตนาที่จะใส่ความ หรือเจตนาแสดงข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่งพาดพิง ไปถึงผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม แต่ข้อความที่โพสต์หรือพิมพ์บนโลกออนไลน์นั้น อาจจะเกิดจากความตั้งใจ เพียงแค่ ขา ๆ สนุก ๆ แต่ทาให้คนอื่นเดือดร้อนหรือถูกเกลียดชัง โดยการพิจารณาว่าข้อความที่กล่าว เป็นหมิ่นประมาทหรือไม่นั้น หาได้พิจารณาจากความรู้สึกของผู้ถูกหมิ่นประมาทเพียงฝ่ายเดียว แต่กลับมุ่งไปพิจารณาจากความรู้สึกของวิญญูชนทั่วไปเป็นหลัก เมื่อพิจารณาตามแนวคาพิพากษาศาลฎีกาที่ 3920/2562 วินิจฉัยว่า ความผิดฐาน หมิ่นประมาทหรือไม่ ต้องพิเคราะห์ถึงความรู้สึกของวิญญูชนทั่ว ๆ ไปเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาว่า ข้อความที่กล่าวนั้น ถึงขั้นที่ทาให้ผู้ถูกหมิ่นประมาท น่าจะเสียชื่อเสียงถูกบุคคลอื่นดูหมิ่นเกลียดชัง หรือไม่ ไม่ใช่พิจารณาตามความรู้สึกของผู้ถูกหมิ่นประมาทแต่ฝ่ายเดียว และมีคาพิพากษาศาลฎีกาที่ 4237/2532, 1064/2531, 3397-3398/2516 วินิจฉัยในทานองเดียวกัน ดังนั้น การกลั่นแกล้ง ทางสื่อสังคมออนไลน์นั้น บางข้อความ หรือถ้อยคาบางประโยค ผู้ถูกกลั่นแกล้งอาจรู้สึกเศร้า เสียใจ แต่ในขณะเดียวกัน ผู้โพสต์ข้อความคิดว่าเป็นเรื่องสนุก ๆ เป็นแค่การวิจารณ์ตามความรู้สึกในขณะนั้น แต่ในทางตรงข้ามกลับเป็นการกระทาที่ส่งผลกระทบต่อสภาวะทางจิตใจ หรือความรู้สึกของ ผู้ถูกกระทาโดยตรงและโดยอ้อม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3