2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์
102 โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ให้การรับรองแนวคิดที่ว่า สิทธิความเป็นส่วนตัวนั้นเป็นสิทธิที่มีมาตั้งแต่กาเนิด ไว้ในหมวด 3 สิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทย มาตรา 32 กล่าวคือ มนุษย์ทุกคนมีสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว การกระทาใดที่เป็นการละเมิดต่อ สิทธิของบุคคล เกียรติยศ ชื่อเสียง และครอบครัวไม่ว่าในทางใด ๆ จะกระทามิได้ เว้นแต่มีกฎหมายที่ ตราขึ้นเพียงเท่าที่จาเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยมีความมุ่งหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิค วามเป็น ส่วนตัว เกียรติยศ ชื่อเสียง และครอบครัว มิให้ถูกละเมิด ตลอดทั้งเพื่อกากับและควบคุมรัฐในเรื่อง การเปิดเผยข้อมูลของบุคคลต่อสาธารณะ แนวคิดดังกล่าวยังสอดคล้องกับ หลักสิทธิความเป็นส่วนตัว ที่ได้บัญญัติไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ. 1948 ข้อที่ 12 ที่ว่า บุคคลใด จะถูกแทรกแซงตามอาเภอใจ ในความเป็นส่วนตัว ครอบครัว ที่อยู่อาศัย การสื่อสาร หรือจะถูกลบหลู่ เกียรติยศและชื่อเสียงไม่ได้ ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองของกฎหมายต่อการแทรกแซงสิทธิ หรือการลบหลู่ดังกล่าวนั้น ถือได้ว่าปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนให้การรับรองสิทธิความเป็น ส่วนตัวไว้ในกฎหมายระหว่างประเทศ อีกทั้งในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางการเมืองและ สิทธิพลเมือง ข้อ 17 ก็ยังได้วางหลักในการคุ้มครองความเป็นส่วนตัว กล่าวคือ บุคคลจะถูกแทรกแซง ความเป็นส่วนตัว ครอบครัว เคหสถาน หรือการติดต่อสื่อสารโดยพลการอันไม่ชอบด้วยกฎหมายมิได้ และจะถูกลบหลู่เกียรติและชื่อเสียง โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายมิได้ บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับความ คุ้มครองตามกฎหมายมิให้ถูกแทรกแซงหรือลบหลู่ เมื่อพิจารณาถึงความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 ต้องมีลักษณะของการเจตนาดูถูก เหยียดหยาม ทาให้อับอาย เสียหาย เป็นที่เกลียดชัง สบประมาท หรือด่า อันเป็นการประทุษร้ายต่อความรู้สึกของผู้อื่น อาจกระทาด้วยวาจาหรือกิริยาท่าทางก็ได้ โดยจะต้องมีการกล่าวหรือแสดงกิริยาท่าทางที่เป็นการดูหมิ่นให้ผู้อื่นทราบในขณะที่มีการกระทาใน ทันทีทันใด เช่น การกล่าวถ้อยคาเหล่านี้ต่อผู้เสียหาย “ตอแหล” (คาพิพากษาฎีกาที่ 8919/2552) “ไอ้ทนายเฮงซวย” (คาพิพากษาฎีกาที่ 1623/2551) “อีเหี้ยอีสัตว์อีควาย มึงคิดว่าเมียกูกินเงินไป หรือไง” (คาพิพากษาฎีกาที่ 5257/2548) “ไอ้หน้าโง่” (คาพิพากษาศาลฎีกาที่ 7572/2542) “ไอ้ห่า” (คาพิพากษาฎีกาที่ 3800/2527) “พระหน้าผีพระหน้าเปรตไปฟ้องวานกูกูไม่กลัว” (คาพิพากษาฎีกา ที่ 10/2527) “เป็นมารศาสนา” (คาพิพากษาฎีกาที่ 3266/2525) “อีดอก” (คาพิพากษาฎีกาที่ 2101/2521) คาว่า “อีสัตว์ เดี๋ยวตบเสียนี่” (คาพิพากษาฎีกาที่ 2220/2518) ถ้อยคาที่เป็นการดูหมิ่น ซึ่งหน้าตามคาพิพากษาฎีกาที่วินิจฉัยดังกล่าวมาข้างต้นนั้น ล้วนมีความหมายในทางเสื่อมเสียกล่าวหา ผู้เสียหายว่าเป็น คนพูดเท็จ เป็นสัตว์ เป็นคนทุจริต เป็นคนไม่ฉลาด เป็นผีจาพวกหนึ่ง เป็นคนมีใจ บาป หยาบช้าคอยกีดกันบุญกุศลของผู้อื่น หรือกล่าวถ้อยคาเหยียดหยามให้ผู้เสียหายได้รับความ อับอายเจ็บใจ อันเป็นการทาลายเกียรติและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้เสียหาย แต่ถ้อยคาที่มัก นามาใช้ในการบูลลี่ เช่น ไม่สวย ไม่หล่อ ขี้เหร่ หน้าปลอม ผอม เตี้ย ดา ขาใหญ่ จอแบน ตุ๊ด
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3