2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์

103 สายเหลือง ขุดทอง กะเทย ชะนี แรด โง่ สลิ่ม ควายแดง ตลาดล่าง และปัญญาอ่อน ไม่ถือเป็นถ้อยคา ที่ทาให้อับอาย เสียหาย จึงไม่ถือเป็นการดูหมิ่นตาม มาตรา 393 สาหรับการดูหมิ่นด้วยการโฆษณาตาม มาตรา 393 นั้น การกระทาดังกล่าวต้องมี ลักษณะของการแพร่หลายหรือเผยแพร่ออกไปยังสาธารณชน หรือ การป่าวร้อง อาจกระทาโดย เอกสาร ภาพวาด ภาพยนตร์ หรือการกระจายเสียง การดูหมิ่นด้วยการโฆษณา แม้เป็นการกล่าว ลับหลังผู้เสียหายก็เป็นความผิดแล้ว เช่น บรรณาธิการหนังสือลงข้อความว่า ต.ตะโกนกลางตลาดว่า “จาเลยถอดรองเท้า ตบหน้า ส.” (คาพิพากษาฎีกาที่ 1104/2519) เป็นต้น แต่หากเป็นการกระทาใน ลักษณะที่ไม่ได้มีลักษณะเป็นการดูถูก เหยียดหยาม หรือทาให้ผู้ถูกกลั่นแกล้งได้รับความอับอาย ขายหน้าต่อคนอื่น โดยเป็นเพียงการใช้หยาบคาย รุนแรง ในบางกรณีอาจเป็นคาพูดที่พูดกันทั่วไป ก็จะไม่เข้าองค์ประกอบความผิดตามมาตรานี้ อีกทั้งจะปรับให้เข้าองค์ประกอบของการดูหมิ่นด้วยการโฆษณา ต้องมีลักษณะของการ แพร่หลายหรือเผยแพร่ออกไปยังสาธารณชนหรือการป่าวประกาศ อาจกระทาโดยเอกสาร ภาพวาด วีดีโอ หรือการกระจายเสียง การดูหมิ่นด้วยการโฆษณาแม้เป็นการกล่าวลับหลังผู้เสียหายก็เป็น ความผิดแล้ว เช่น การลงโฆษณาคาดูหมิ่นลงในหนังสือพิมพ์ เป็นต้น แต่การที่จะปรับเป็นความผิด ตามมาตรา 393 ต้องเป็นการกระทาซึ่งหน้า การด่ากันโดยห่างระยะทาง เช่น การเขียน จดหมาย หรือการโทรศัพท์ด่ากัน แม้จะเป็นโทรศัพท์ที่สามารถเห็นหน้าได้ก็ไม่ใช่การดูหมิ่นซึ่งหน้านี้ จึงไม่อาจ ปรับใช้กับการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่วนใหญ่เป็นการส่งข้อความกันโดยระยะห่าง เช่น การส่งข้อความกลั่นแกล้งผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ระบบคอมพิวเตอร์ หรือผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ เพราะเป็นการกระทาโดยระยะห่างกัน ไม่ถือว่าเป็นการกระทาที่เป็นการดูหมิ่นซึ่งหน้า (คาพิพากษา ฎีกาที่ 256/2506) และส่งข้อความทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือการส่ง SMS เพราะการส่งข้อความ ดังกล่าว ไม่ใช่การกระทาต่อหน้าผู้เสียหายและถ้าผู้เสียหายไม่เปิดดูก็อาจจะไม่ทราบข้อความที่ ดูหมิ่นในทันทีดังเช่นกรณีคาชี้ขาดความเห็นแย้งของอัยการสูงสุด (ชี้ขาดความเห็นแย้งที่ 158/2553) มีคาชี้ขาดว่าความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 ต้องเป็นการกระทา ต่อหน้าผู้เสียหายโดยผู้เสียหายจะต้องอยู่ในที่เกิดเหตุด้วย ถ้าผู้เสียหายไม่อยู่ในที่เกิดเหตุก็ไม่อาจเป็น การดูหมิ่นซึ่งหน้าได้ การที่ผู้ต้องหาใช้โทรศัพท์มือถือของตนส่งข้อความ “พ่อมึงก็โกง มึงก็โกง พ่อกูไม่ เคยโกงใคร ไม่เคยใช้เงินพ่อแม่มึง” เข้าโทรศัพท์มือถือของผู้เสียหาย แม้ข้อความดังกล่าวจะเป็นการ ดูหมิ่นผู้เสียหาย แต่ผู้ต้องหาไม่ได้กระทาต่อหน้าผู้เสียหาย หรือผู้เสียหายอยู่ในที่นั้น ทั้งข้อความที่ ถูกส่งเข้าโทรศัพท์มือถือของผู้เสียหายดังกล่าว หากผู้เสียหายไม่เปิดดูก็จะไม่ทราบ ข้อความที่ดูหมิ่น ผู้เสียหายในทันทีตามพฤติการณ์ยังถือไม่ได้ว่าผู้ต้องหาดูหมิ่น ผู้เสียหายซึ่งหน้า ดังนั้น เพื่อให้เห็นถึงลักษณะการดูหมิ่นซึ่งหน้า หมิ่นประมาท หมิ่นประมาทด้วยการ โฆษณาและการกลั่นแกล้งทางออนไลน์ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร ได้กาหนดไว้ในตารางดังนี้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3