2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์
106 จากตารางแสดงให้เห็นว่า การดูหมิ่นซึ่งหน้า หมิ่นประมาท หมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา และการกลั่นแกล้งทางออนไลน์ แม้จะมีลักษณะหรือรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน แต่การสื่อสารด้วย เทคโนโลยีที่ทันสมัย แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วกว่าการหมิ่นประมาทโดยทั่วไปเป็นอย่างมาก เพราะ ช่องทางกระทาการกลั่นแกล้งด้วยการสื่อสารสามารถทาได้ง่ายกว่าเพียงแค่พิมพ์ข้อความ โพสต์ภาพ หรือคลิปวีดิโอ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่มีข้อจากัดเรื่องสถานที่ และผู้กระทาอาจเปิดเผย หรือปกปิดตัวตนก็ได้ อาจกล่าวได้ว่าเป็นความผิดที่สามารถเผยแพร่ข้อความต่าง ๆ ไปได้อย่างรวดเร็ว และคงอยู่ตลอดไป ประเทศไทยยังไม่มีการกาหนดความผิดฐานกลั่นแกล้งทางสื่อออนไลน์ที่เป็น กฎหมายเฉพาะไว้แต่อย่างไร การนาเอาบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายอาญาในความผิดฐานดูหมิ่น หมิ่นประมาท และการหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณามาปรับบังคับใช้นั้น ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่ เกิดขึ้นได้ตรงจุดและมีประสิทธิภาพมากพ 2) การนาพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาบังคับใช้กับการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ จากการศึกษาวิจัยพบว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทาความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 เป็นกฎหมายเฉพาะที่กาหนด ความผิดสาหรับการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์ กฎหมายนี้มีหลักการลงโทษการเผยแพร่ ข้อมูลคอมพิวเตอร์สาหรับเนื้อหาบางประการ ในมาตรา 14 “ข้อมูลปลอม หรือ เท็จ” “ข้อมูลลามก” การนาเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ดังต่อไปนี้เป็นความผิด (1) ข้อมูลโดยทุจริต (2) ข้อมูลอันเป็นเท็จ (3) ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หรือ (4) ข้อมูลลักษณะอันลามก โดยผลของ มาตรา 14 จึงได้มีการออกประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เรื่องขั้นตอนการแจ้งเตือน การระงับการทาให้แพร่หลายของข้อมูลคอมพิวเตอร์ โดยในประกาศมีระบบ “แจ้งเตือนให้ลบ เนื้อหา” ตามข้อ 5 กาหนดว่า ผู้ให้บริการต้องจัดทาหนังสือแจ้งเตือนโดยมีแบบฟอร์มให้ผู้ใช้บริการ สามารถแจ้งให้ระงับการแพร่หลายหรือลบเนื้อหาที่มีความผิดตามมาตรา 14 เมื่อพิจารณาถึงฐานความผิดตามมาตรา 14 มีเพียงบางอนุมาตราเท่านั้นที่สามารถ นามาปรับใช้กับกรณีการกลั่นแกล้งทางออนไลน์ได้ เช่น ข้อมูลหลอกลวง ตามมาตรา 14 (1) เป็นการ นาข้อมูล เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจไม่ต้องเป็นระบบที่เผยแพร่ต่อสาธารณะก็ได้ แต่เป็นข้อมูลที่บิดเบือนต่อความเป็นจริง หรือปลอมทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือเป็นข้อมูลที่เป็นเท็จ โดยมีลักษณะที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่ความผิดฐานหมิ่นประมาทตาม ประมวลกฎหมายอาญา โดยมีองค์ประกอบภายในสาหรับความผิดในอนุมาตรานี้คือ ทาโดยทุจริต หมายถึง เพื่อแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสาหรับตนเองหรือผู้อื่น หรือ โดยหลอกลวง คือ รู้ว่าเป็นข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงแต่เพื่อหลอกลวงประชาชนโดยทั่ว ๆ ไปเป็นการเผยแพร่หรือส่งต่อข้อมูลที่ต้องห้ามนั้น เช่น โพสต์ข้อมูลต้องห้ามบนเว็บไซต์สาธารณะหรือ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3