2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์

109 พบว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 ได้กาหนดให้บุคคลผู้กระทา ละเมิดจาต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการละเมิดเมื่อได้กระทาการโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ต่อบุคคลผู้อื่นโดยผิดกฎหมาย และเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทาได้รับความเสียหายจิตใจก็แต่เฉพาะความ เสียหายต่อจิตใจอันเป็นผลเนื่องมาจากความเสียหายต่อร่างกายสุขภาพอนามัย ความเสียหายทา ง อารมณ์ เช่น ได้รับความเจ็บปวดทุกข์ทรมานหรือเสียโฉม หรือความเสียหายจากโรคหรืออาการทาง จิตเวช เป็นต้น ซึ่งไม่รวมถึงค่าเสียหายทางจิตใจ โดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาได้วางแนวคาพิพากษา ไว้ในคาพิพากษาศาลฎีกา ที่ 1742/249917 ได้วินิจฉัยไว้เป็นบรรทัดฐานว่า ผู้เสียหายไม่อาจเรียกร้อง ค่าเสียหายทางจิตใจได้ เนื่องจากไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้เรียกร้องได้และต่อมาได้มีคาพิพากษา ศาลฎีกาที่ 789/250218 และพิพากษาศาลฎีกาที่ 4550/251819 เดินตามแนวคาพิพากษานี้ มาตลอด อีกทั้งยังต้องพิจารณาว่าการกระทาเช่นว่านั้น จะก่อให้เกิดผลเสียหายแก่ผู้ถูกกลั่นแกล้ง หรือไม่ หากพิจารณาตามปกติที่ผู้กลั่นแกล้ง เป็นบุคคลธรรมดาซึ่งรู้ผิดชอบ มีการเคลื่อนไหวร่างกาย โดยรู้สานึก กระทาต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย แล้วก็ควรรู้ว่าการกระทาของตนทาให้ผู้อื่นเสียหาย และความเสียหายนี้เกิดขึ้นจากผลโดยตรงของการกระทา แม้ในบางกรณีการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์อาจปรับใช้มาตรา 420 ได้ หากเป็น การกระทาโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อให้ผู้ถูกกลั่นแกล้งเสียหาย แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นผลที่ เกิดจากการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ มักเป็นความเสียหายทางจิตใจ เช่น เกิดอารมณ์ เศร้า หดหู่ วิตกกังวล หรือเสียความเชื่อมั่นในตนเอง ซึ่งเป็นความเสียหายที่ไม่อาจคานวณเป็นตัวเงินได้ แน่นอน จึงไม่ใช่ความหมายปกติของความเสียหายเพราะไม่ได้มีการลดน้อยถอยลงในเชิงทรัพย์สิน ความเศร้าโศกเสียใจเป็นเพียงอารมณ์ที่เกิดขึ้นไม่ใช่ความเสียหายตามกฎหมาย จึงไม่อาจเรียกร้อง เป็นตัวเงินได้ได้ เพราะไม่มีบทกฎหมายใดที่บัญญัติให้สิทธิเรียกค่าเสียหายในเรื่องนี้ได้ ส่วนองค์ประกอบภายในของกระทาต่อผู้อื่นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ความเสียหายจะมี ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทาและผล หากพิจารณาลักษณะการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ ถ้าเป็นการด่า ดูหมิ่น ดูถูก เหยียดหยาม ซึ่งเป็นการดูหมิ่นซึ่งหน้าก็จะเป็นการกระทาโดยละเมิดตาม มาตรา 420 ดังในคาพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2487 ที่ได้วินิจฉัยว่า กฎหมายรับรองสิทธิที่บุคคลจะ ไม่ถูกใครมาด่า การกระทาของผู้กลั่นแกล้ง จึงเป็นละเมิดตามมาตรา 420 จากคาพิพากษาฎีกา ดังกล่าวเห็นได้ว่า ผู้กลั่นแกล้งจะมีความผิดละเมิดนั้น จะต้องเป็นการด่า ดูหมิ่น ผู้ถูกกลั่นแกล้ง แต่ถ้า หากเป็นการพูดจาที่มิได้เป็นการด่า การดูหมิ่นหรือการข่มขู่ แต่เพียงเป็นการพูดจาให้ผู้ถูกกลั่นแกล้ง รู้สึกน้อยเนื้อต่าใจ หรือแค่เพียงแสดงกิริยาท่าทาง แสดงอาการทางสีหน้า ก็จะไม่ถือว่าการกระทา ดังกล่าวของผู้กลั่นแกล้งเป็นการกระทาละเมิด ความผิดในลักษณะละเมิด จึงไม่ครอบคลุมเพียงพอใน การคุ้มครองผู้ถูกกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ เนื่องจากการกลั่นแกล้งนั้น มิได้มีเพียงการด่า ดู หมิ่น หรือ ข่มขู่เท่านั้น (เรวดี แช่อิ๋ว, 2565) อีกทั้งการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ในลักษณะของ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3