2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์

110 การไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย ไม่พูดด้วย ไม่รวมกลุ่มด้วย เป็นเสรีภาพบุคคลจึงไม่ใช่การกระทาที่มิชอบ ด้วยกฎหมาย จึงไม่เป็นการกระทาโดยละเมิดตามมาตรา 420 ความรับผิดเพื่อการละเมิดจากการกล่าว หรือไขข่าวอันฝ่าฝืนต่อความจริง หรือการหมิ่น ประมาททางแพ่ง ตามมาตรา 423 กล่าวคือ หากผู้กระทาการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ กล่าว หรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง โดยบุคคลที่สามจะเชื่อหรือไม่ ก็ไม่สาคัญ และ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะต้อง เป็นเรื่องความเสียหายแก่ชื่อเสียง เกียรติคุณ ทางทามาหาได้ หรือทาง เจริญของผู้นั้น หรือเป็นการกระทาด้วยประการใด ๆ ที่สามารถแสดงเกี่ยวกับ ข้อความใด ๆ ให้บุคคล ที่สามได้ทราบ เช่น แจกใบปลิว ส่งข้อความทางโทรศัพท์มือถือ รวมทั้งทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายนั้นต้องมีบุคคลที่สามที่ได้รับรู้ แต่บุคคลที่สามนั้น ไม่จาเป็นต้องเป็น บุคคลที่ประสงค์จะบอกกล่าวโดยตรง อาจเป็นการกระทาโดยเปิดเผย เช่น เขียนไปรษณียบัตรก็ถือว่า บุคคลที่สามได้ทราบข้อความนั้นแล้ว โดยการละเมิดด้วยคาพูดซึ่งทาความเสียหายต่อชื่อเสียงเกียรติคุณของบุคคลอื่นตาม มาตรา 423 นั้น ต้องเป็นการกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความที่ฝ่าฝืนต่อความจริง กล่าวคือต้อง แสดงข้อความให้บุคคลที่สามทราบ คือ “พูดเอง” การไขข่าว คือ “ฟังจากคนอื่นแล้วไปแพร่ต่อ” จะเป็นด้วยถ้อยคาพูด การเขียน ด้วยกิริยาอาการด้วยวิธีอื่น หรือโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ฯลฯ ตัวอย่างคาพิพากษาศาลฎีกาที่ 6681/2562 โปรแกรมสนทนาผ่านบัญชีเฟสบุค แมสเซนเจอร์ ที่ให้บริการส่งข้อความ และข้อมูลมัลติมีเดียสนทนาโต้ตอบกัน ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตที่เข้าในระบบ เพื่อพูดคุยกันระหว่างจาเลยทั้งสองและ พ. เป็นแบบระบบปิด บุคคลภายนอกไม่สามารถเข้าไปดูหรือ อ่านข้อความสนทนาได้ การสนทนาที่มีการพูดถึงโจทก์ และพนักงานอื่นรวมอยู่ด้วยเป็นการกล่าวที่ จาเลยทั้งสองและ พ. ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกันสนทนาร่วมกัน มิใช่เป็นการที่จาเลยทั้งสองกล่าวหรือไขข่าว แพร่หลาย แม้การที่โจทก์แอบดูและอ่านข้อความที่สนทนาที่ พ. เปิดโปรแกรมค้างไว้ และลืมปิดแล้ว โจทก์นาไปเผยแพร่ให้บุคคลอื่นรับทราบเอง ย่อมไม่ทาให้การสนทนาระหว่างกลุ่มบุคคลทั้งสามเป็น การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายให้บุคคลอื่นรับทราบได้ การกระทาของจาเลยทั้งสองไม่เป็นละเมิดต่อ โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 โดยข้อความที่ฝ่าฝืนต่อความจริง หากผู้กลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ได้ส่งข้อความ ผ่านเครื่องมือสื่อสาร หรือโพสต์ข้อความออนไลน์โดยใช้ถ้อยคาหยาบคาย หรือถ้อยคาเปรียบเทียบ ซึ่งไม่ใช่ข้อความอันฝ่าฝืนต่อความเป็นจริงตามมาตรา 423 ก็ไม่อาจเป็นความผิดตามมาตรานี้ เช่น การที่โจทก์กล่าวเปรียบเทียบจาเลยว่าเหมือนสัตว์ แม้เป็นการกล่าวกระทบถึงจาเลย แต่ก็ไม่ใช่ การนาความเท็จหรือข้อความที่ไม่เป็นจริงเกี่ยวกับตัวจาเลยมากล่าว จึงไม่เป็นการละเมิดตามมาตรา 423 ตัวอย่างคาพิพากษาศาลฎีกาที่ 891/2557 คากล่าวของจาเลยที่ 1 ตามคาฟ้องที่ว่า “พวกมันมี เหี้ย 7 ตัว” หรือ “มันเป็นสามานย์” แม้เป็นการกล่าวกระทบถึงโจทก์ทั้งเจ็ด แต่ก็ไม่ใช่การนาความ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3