2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์
111 เท็จหรือข้อความที่ไม่เป็นความจริง เกี่ยวกับตัวโจทก์ทั้งเจ็ดมากล่าว หากแต่เป็นการด่าโจทก์ทั้งเจ็ด ด้วยความรู้สึกเกลียดชังว่าโจทก์เป็นคนไม่ดี โดยเปรียบเทียบเหมือนสัตว์ ซึ่งไม่ใช่เป็นการนาข้อความ อันฝ่าฝืนต่อความเป็นจริงมากล่าว จาเลยที่ 1 จึงไม่ได้กล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืน ต่อความเป็นจริงตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิช มาตรา 423 สรุปได้ว่า การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการละเมิด คือการทาให้ผู้เสียหายได้กลับคืน สู่ฐานะเดิมเหมือนเมื่อครั้งยังไม่มีการละเมิด ถ้าเป็นความเสียหายอันแน่นอนและเป็นผลโดยตรง จากการกระทาของผู้กระทาละเมิด เป็นเหตุการที่เกิดขึ้นภายหลังจากมีการกลั่นแกล้งเกิดขึ้นแล้ว โดยมุ่งหมายให้ผู้กลั่นแกล้งได้ชดใช้ค่าเสียหายในลักษณะค่าสินไหมทดแทนที่คานวณเป็นเงินได้ เป็นความเสียหายแน่นอน ผู้นั้นย่อมต้องรับผิด จากหลักการดังกล่าวเมื่อพิจารณาประกอบลักษณะ ของการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ หากการกระทานั้นเข้าองค์ประกอบของความผิดเพื่อกา ร ละเมิดทั้งการละเมิดโดยทั่วไปตามมาตรา 420 หรือการละเมิดจากการกล่าว หรือไขข่าวอันฝ่าฝืนต่อ ความจริง ผู้ถูกกระทาสามารถเรียกร้องให้ผู้กระทาการกลั่นแกล้ง ข่มเหง รังแกชดใช้ค่าสินไหม ทดแทนได้ตามมาตรา 438 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยค่าสินไหมทดแทน เพื่อความเสียหายจะพึงชดใช้จานวนเท่าใดนั้นจะต้องพิจารณาจากพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่ง ละเมิดนั้นด้วย ปัญหาจึงอยู่ที่ว่าจะเรียกร้องได้ในกรณีใดบ้าง มีกฎเกณฑ์ในการคานวณค่าแห่งความ เสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนประเภทนี้อย่างไร จึงจะชดใช้เยียวยาให้ผู้ถูกกระทาละเมิดให้กลับคืนสู่ ฐานะเดิมให้มากที่สุดเสมือนไม่เคยถูกทาละเมิด อันเป็นวัตถุประสงค์ที่สาคัญยิ่งของการชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนในมูลละเมิด เนื่องจากมาตรา 420 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้กาหนดให้บุคคลผู้ทาละเมิด ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการละเมิดต่อเมื่อได้กระทาโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย และเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทาต้องได้รับความเสียหาย แก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด ถ้าทาให้เสียหายนอกจากที่ บัญญัติไว้นี้หาเป็นละเมิดไม่ ดังนั้นความดีใจ เสียใจ เศร้าโศก แค้นใจ เจ็บใจ ว้าเหว่ กฎหมายละเมิด ของไทยไม่ถือว่าเป็นการทาให้เสียหาย ทั้งแนวแนวคาพิพากษาของศาลฎีกาได้วินิจฉัยเป็นบรรทัดฐาน ไว้ว่าผู้เสียหายสามารถเรียกค่าเสียหายได้เฉพาะความเสียหายต่อจิตใจอัน เป็นผลเนื่องมาจากความ เสียหายต่อร่างกาย สุขภาพ หรืออนามัยของผู้เสียหาย เช่น ได้รับความเจ็บปวด ทุกข์ ทรมาน หรือ เสียโฉม เป็นต้น สาหรับความเสียหายที่เป็นความวิตกกังวล ความโศกเสียใจ ความอับอาย หรือ ความ เสียหายทางจิตใจอย่างอื่นเป็นเพียงอารมณ์ รู้สึกมาก รู้สึกน้อย หรือไม่รู้สึกเลยก็ได้ ยากแก่การพิสูจน์ โดยศาลให้เหตุผลว่าไม่มีกฎหมายบัญญัติให้เรียกร้องค่าเสียหายดังกล่าวได้ สาหรับประเทศไทยนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ได้บัญญัติเรื่องค่าสินไหมทดแทนทางจิตใจไว้ ซึ่งส่งผลให้การ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3