2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์

112 กาหนดค่าสินไหมทดแทน ไม่ครอบคลุมความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง และไม่สามารถเยียวยาผู้เสียหาย ได้ตรงตามความเสียหายที่แท้จริง ผลของคาตอบ จากผู้ให้สัมภาษณ์ในประเด็นคาถามมาตรการทางกฎหมายในการ ควบคุมการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ของประเทศไทยในปัจจุบัน มีความเหมาะสม หรือไม่ เพียงใดนั้น ผู้ให้สัมภาษณ์กลุ่มนักคุ้มครอง กลุ่มประชาชน และกลุ่มจิตแพทย์ ล้วนให้ความเห็นไปใน ทิศทางเดียวกันว่า ไม่เพียงพอ โดยให้ความคิดเห็นเป็น 3 แนวทางดังนี้ แนวทางที่ 1 มองว่ากฎหมายยากที่จะบังคับใช้ได้จริง เพราะพอเกิดปัญหา ต้องไปแจ้ง ความที่สถานีตารวจ เสียเวลา และบางครั้งคนถูกกลั่นแกล้งก็อยู่ในภาวะวิตกกังวล เศร้าเสียใจเกินกว่า จะกล้าออกไปแจ้งความ หรือพบเจอผู้คน และเมื่อไปแจ้งความตารวจก็ไม่รู้จะดาเนินคดีให้หรือไม่ (ตารวจบอกจะให้ไปจับเค้าเพราะเรื่องอะไร ผิดกฎหมายข้อไหน แล้วคนที่ไม่รู้กฎหมายจะรู้ไหม) หรือ ถ้ารับดาเนินคดีก็ยังคงเป็นหน้าที่ที่เราต้องไปหาพยานหลักฐานเอง และเมื่อการกลั่นแกล้งมันเกิดขึ้น บนโลกออนไลน์ เราเป็นเพียงแค่ผู้ใช้งาน เราคงไม่มีความรู้ความสามารถขนาดจะไปเจาะระบบดูได้ว่า คนที่แกล้งเราเค้าเป็นใคร ใช้งานอินเตอร์เน็ตจากที่ไหน ทาได้แค่แคปหน้าจอข้อความซึ่งถูกกลั่นแกล้ง แต่ก็ไม่รู้อีกว่าคนที่ทาจะใช้ชื่อจริง หรือข้อมูลจริงในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์หรือไม่ และยิ่งถ้าเป็น คนไม่เคยรู้จักกันมาก่อนก็ยิ่งยากที่จะระบุตัวผู้กระทา และกว่ากระบวนการจะถึงชั้นศาล มันใช้ เวลานาน ภาพที่เค้าโพสต์ว่าเราให้เกิดความเสียหาย หรือถ้อยคาที่เค้าบูลลี่เรา มันก็จะยังคงอยู่บนสื่อ สังคมออนไลน์ ยังไม่ถูกลบ ทาให้เรารู้สึกเหมือนโดยบูลลี่ซ้า หรือยังคงอยู่กับความอับอายไม่จบไม่สิ้น แนวทางที่ 2 มองว่าประเทศไทยอยู่ในภาวะกฎหมายล้นประเทศ มีกฎหมายมี พระราชบัญญัติหลายร้อยฉบับ แต่คนไทยกลับไม่รู้ว่าการกระทาแบบไหนเป็นความผิด หรือการะทา แบบไหนผิดกฎหมายฉบับใด ผิดข้อกฎหมายใด การกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ก็เช่นกัน ไม่ทราบ ว่าในปัจจุบันมีกฎหมาย ที่ถ้าเราถูกบูลลี่แล้วเราจะสามารถดาเนินคดีกับคนเหล่านั้นได้จริง ๆ หรือไม่ แล้วเราต้องไปแจ้งความกับใคร ตารวจทั่วไป ตารวจไซเบอร์ หรือหน่วยงานไหนที่เค้าจะรับดาเนินการ ให้เรา มองว่าแม้ว่ากฎหมายจะมีหรือไม่ แต่ถ้าหากคนขาดจิตสานึก ขาดความเกรงอกเกรงใจกัน ก็คงไม่สามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ แนวทางที่ 3 มองว่ากฎหมายที่มีจะลงโทษผู้กระทาได้จริงแค่ไหน หากคนทาเป็นเด็ก จะจับเค้าติดคุกได้ไหม หรือเรียกค่าเสียหายจากเค้าได้มากแค่ไหน ใครตีความว่าเรื่องนี้ กระทบหรือไม่ กระทบ เสียหายหรือไม่เสียความ เพราะความรู้สึกของคนไม่เท่ากัน คาพูดเดียวกันบางคนอาจจะ เจ็บปวด แต่บางคนก็ไม่รู้สึกอะไร แล้วจะเอาอะไรมาวัดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมันผิด หรือไม่ผิด เพาะมันไม่มี กฎหมาย ไม่มีบทนิยามเฉพาะ จึงไม่อาจจากัดความ คาว่าเสียหายทางจิตใจได้ จากการศึกษาประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทาความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังกล่าวข้างต้น พบว่าใน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3