2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์
113 การกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์กฎหมายประเทศไทย ยังไม่สามารถเอาความผิดกับผู้กระทาผิดได้ โดยตรง โดยข้อกฎหมายดังกล่าวยังมีข้อจากัดในการดาเนินคดีตามความผิด เนื่องจากสื่อสังคม ออนไลน์รวมถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีรูปแบบที่ซับซ้อน และมีการพัฒนาอย่างสม่าเสมอทาให้ บทบัญญัติของกฎหมายไทยยังไม่สามารถปรับให้ทันกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วได้ อีกทั้งการใช้สื่อสังคมออนไลน์ สามารถเข้าถึงได้ โดยการ Log In ผ่านบัญชีผู้ใช้ ใครก็สามารถเข้าถึง ได้เพียงแค่มี คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน หรือไอแพด ที่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ก็สามารถเข้าใช้ งานสื่อสังคมออนไลน์ โดยสามารถกลั่นแกล้งกันได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งแตกต่างจากการกลั่นแกล้ง ทางกายภาพที่จะรังแกกันได้เพียงแค่ต่อหน้าเท่านั้น จึงควรมีบทบัญญัติของกฎหมายเป็นการเฉพาะที่ ออกมาเพื่อแก้ไขปัญหาการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์โดยตรง และจากการศึกษายังพบอีกว่า ประเทศไทย ไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์โดยตรง ซึ่งในประเทศแคนนาดา มีหน่วยงานชื่อว่า Cyber Scan เครือรัฐออสเตรเลีย มีการจัดตั้ง คณะกรรมการควบคุมความปลอดภัยทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Safety Commissioner) อีกทั้งปัญหา เกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองบุคคลซึ่งได้รับความเสียหายในเบื้องต้น โดยยังไม่มีมาตรการทาง กฎหมาย เนื่องจากศาลเท่านั้นที่มีอานาจสั่งให้ผู้กระทาความผิดลบ แก้ไข หรือกระทาการอัน เป็นการ เยียวยาผู้เสียหายได้ เช่น ตามาตรา 16/1 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 ซึ่งระยะเวลาในการดาเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอาจใช้ระยะเวลานาน ทาให้ ผู้เสียหายยังคงได้รับความเสียหายและผลกระทบต่อสิ่งที่ผู้กระทาความผิดได้ก่อให้เกิด หรือได้กระทา ขึ้นจากการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ และคุกคามบนสื่อสังคมออนไลน์อยู่อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้หากมีการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์เกิดขึ้น และทาให้ผู้ถูกกระทาไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่าง ปกติสุข ถือเป็นการล่วงล้าความเป็นอยู่ส่วนตัว ที่ส่งผลทาให้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ถูกรบกวน กฎหมายจึงจาต้องให้ความคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลมิให้ถูกละเมิด 4.3 หน่วยงานภาครัฐในการคุ้มครองสิทธิผู้ถูกกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ การกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ เป็นการกระทาที่มีรูปแบบที่ซับซ้อน เนื่องจากผู้กระทา ความผิดเป็นใครก็ได้ อีกทั้งยังสามารถเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ได้ง่าย เพียงแค่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ จึงเป็นการกระทาที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ไม่สามารถคาด เดาได้ว่าจะเกิดขึ้นกับใคร เวลาไหน สถานที่ไหน และรวมถึงไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าใครจะผู้กระทา หรือใครจะตกเป็นเหยื่อของการถูกกระทา อาจกล่าวได้ว่าการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ไม่มี ข้อจากัดในการกระทาความผิด แต่ในทางกลับกันการรวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อติดตามตัวผู้กระทา ความผิดมาลงโทษเป็นได้ยาก เนื่องจากจาต้องต้องพึ่งหลักฐานดิจิทัล ต้องมีการเข้ารหัส ซึ่งหาก ผู้กระทาความผิดเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญระดับสูงก็สามารถเปลี่ยนแปลง ปลอมหรือทาให้ข้อมูลที่จะ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3