2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์

114 ใช้เป็นพยานหลักฐานสูญหายได้ อีกทั้งข้อมูลที่ได้จากหมายเลข IP Address อาจจะไม่เพียงพอระบุถึง ตัวผู้กระทาความผิดที่แท้จริงได้ เพราะผู้ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์อาจมิได้มีการยืนยันตัวตนที่แท้จริงใน การลงทะเบียนกับแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ หรือใช้อีเมลปลอมในการลงทะเบียน จึงเกิดความ ยุ่งยากและมีกระบวนการที่ซับซ้อนในการสืบค้นหาพยานหลักฐานดังกล่าว ซึ่งต้องใช้เทคโนโลยี ความเชี่ยวชาญเฉพาะ และใช้ระยะเวลาในการตรวจสอบทาให้เกิดความล่าช้า เมื่อพิจารณาแนวทางคุ้มครองความปลอดภัยเครือรัฐออสเตรเลีย ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการ ควบคุมความปลอดภัยทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Safety Commissioner) โดยมีวัตถุประสงค์ขึ้นเพื่อ ส่งเสริมความปลอดภัยทางออนไลน์สาหรับชาวออสเตรเลียทุกคน ซึ่งรวมถึงการให้ข้อมูลและ เครื่องมือเพื่อช่วยจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางออนไลน์ และการจัดการแผนเพื่อจัดการ กับการละเมิดทางออนไลน์อย่างร้ายแรง โดยมีหน้าที่หลักในการรับเรื่องร้องเรียนที่เข้าข่ายว่าจะเป็น การกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์จากผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง และประสานความช่วยเหลือไปยัง ผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์ในการลบข้อมูล ระงับการเผยแพร่ซึ่งข้อมูลการกลั่นแกล้งรังแกทาง สื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งต้องดาเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 48 ชั่วโมง หากผู้ประกอบการไม่ปฏิบัติ ตามคาบอกกล่าวผู้ให้บริการต้องรับผิดชอบต่อความล้มเหลวในการลบเนื้อหา โดยจะส่งผลให้มีโทษ ทางแพ่ง และประเทศแคนนาดา รัฐ Nova Scotia กฎหมาย Intimate Images and Cyber- protection Act 2017 ได้ให้อานาจรัฐมนตรีในการจัดตั้งหน่วยงาน Cyber Scan ทาหน้าที่ในการให้ ความรู้ สร้างความเข้าใจด้านกฎหมายต่อปัญหาการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ อีกทั้งยังเป็น หน่วยงานที่สนับสนุนการบังคับใช้กฎหมาย ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เสียหายในเบื้องต้น ในขณะที่ประเทศไทยเมื่อเกิดการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์เกิดขึ้น หากเป็นการ ดาเนินการตามขั้นตอนทั่วไป ผู้เสียหายจะต้องดาเนินการแจ้งความร้องทุกข์ และเจ้าหน้าที่ตารวจ จะดาเนินการการสืบสวน สอบสวน เพื่อสืบค้นหาพยานหลักฐานในการประกอบสานวนคดี โดยจะ ออกหมายเพื่อขอข้อมูลจากผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ต หากเป็นผู้ให้บริการที่มีบริษัทแม่จัดตั้งอยู่ ต่างประเทศก็ไม่สามารถขอข้อมูลได้ทันที มีผลต่อระยะเวลาในการค้นหาพยานหลักฐานที่อาจจะล่วง พ้นไปแล้วหรือใกล้จะครบ 90 วัน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทาความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 26 35 ข้อมูลที่ผู้ให้บริการ เก็บรักษาไว้ อีกทั้งการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ยังไม่มีกฎหมายให้อานาจเจ้าหน้าที่ในการ ดาเนินการได้อย่างทันท่วงที ปัญหาคือการกระทาความผิด ในลักษณะดังกล่าว มิได้มีกฎหมายบัญญัติ 35 มาตรา 26 ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณี จาเป็น พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวันแต่ไม่เกินสองปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย และเฉพาะคราวก็ได้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3