2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์
118 ทุกสาขาอาชีพให้เข้ามาอยู่ในพื้นที่เดียวกันได้ ผู้ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์สามารถเป็นได้ทั้งผู้ส่งสารและ ผู้รับสารในเวลาเดียวกัน เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นกับกลั่นแกล้งทาง สื่อสังคมออนไลน์ จากการศึกษาถึงความเหมือนและความแตกต่างของระหว่างเสรีภาพในการแสดง ความคิดเห็นกับเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ หรือคาว่าบูลลี่ พบว่า (คณาธิป ทองรวี วงศ์, 2560) ได้ให้ความเห็นไว้ในงานวิจัย เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ โดยได้อธิบายถึงเสรีภาพในความสัมพันธ์ระหว่างเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นกับการบูลลี่ ไว้ว่า เสรีภาพในการสื่อสารเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ การที่มนุษย์สามารถทาการสื่อสารใด ๆ ตามความประสงค์ของตนในระบอบการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตย เสรีภาพในการแสดง ความคิดเห็นทาให้เกิดการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน โดยที่ประชาชนสามารถแสดงความ คิดเห็นในประเด็นทางการเมืองและประเด็นสาธารณะต่าง ๆ โดยทั่วไปแล้ว การสื่อสารเรื่องราว เกี่ยวกับความแตกต่างในความคิดเห็นด้านเชื้อชาติ สีผิว ศาสนา เพศ ก็จัดว่าอยู่ภายใต้แนวคิดและ หลักการของเสรีภาพในการสื่อสาร ดังนั้น การกาหนดกฎหมายหรือมาตรการใด ๆ ที่ส่งผลจากัด เสรีภาพในการสื่อสาร โดยเฉพาะการสื่อสารสาธารณะก็ย่อมเป็นการส่งผลกระทบต่อเสรีภาพซึ่งเป็น สิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ นอกจากนี้การบูลลี่ยังมีส่วนในการสร้างความอดทนต่อความหลากหลาย ในสังคม ซึ่งเป็นคุณลักษณะประการหนึ่งของสังคมประชาธิปไตย สอดคล้องกับงานวิจัยของ (นาตยา สวัสดี, 2563) เรื่อง การกาหนดความรับผิดทางอาญาของ ผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับการประทุษวาจาในระบบข้อมูลของตน กล่าวว่าการใช้เสรีภาพ ในการสื่อสารอาจส่งผลกระทบต่อสิทธิของผู้อื่นและคุณค่าอื่น ๆ ในสังคมประชาธิปไตย ทาให้เกิด แนวคิดและหลักกฎหมายในการจากัดเสรีภาพ เพื่อให้เกิดการสร้างความสมดุลระหว่างเสรีภาพ ในการสื่อสารกับคุณค่าอื่น ๆ เช่น การสื่อสารข้อมูลที่หมิ่นประมาท หรือทาให้ผู้อื่นเสื่อมเสียชื่อเสียง จะไม่ได้รับการคุ้มครองในฐานะเสรีภาพในการสื่อสาร และมีความผิดตามกฎหมายหมิ่นประมาท การสื่อสารที่ทาให้เกิดความเกลียดชังส่งผลกระทบต่อศักดิ์ศรีของมนุษย์ ซึ่งการแสดงความคิดเห็นที่ ก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบและความเกลียดชัง มุมหนึ่งอาจพิจารณาว่าเป็นเสรีภาพของผู้ทาการ สื่อสาร แต่ในอีกด้านหนึ่งอาจพิจารณาว่า การแสดงความคิดเห็นดังกล่าวส่งผลกระทบทาให้เกิดความ เกลียดชัง ซึ่งส่งผลกระทบต่อศักดิ์ศรีของมนุษย์ อีกทั้งยังอาจเป็นการข่มขู่ คุกคาม จนนาไปสู่ความ แตกแยก ความไม่สงบในสังคม ทาให้ภาครัฐต้องเข้ามาแทรกแซงการสื่อสารดังกล่าวเพื่อคุ้มครองสิทธิ พื้นฐาน เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย เนื่องจากการสื่อสารดังกล่าวอาจนาไปสู่ความรุนแรงทาง กายภาพด้วย การจากัดการบูลลี่จึงเป็นสิ่งที่ต้องประสานระหว่างเหตุผลด้านสิทธิมนุษยชนสองเหตุผล กล่าวคือ ในด้านหนึ่งมนุษย์มีศักดิ์ศรีและเสรีภาพในการสื่อสาร กับด้านศักดิ์ศรีของมนุษย์ที่ควรได้รับ ความคุ้มครองจากการสื่อสารที่เป็นการดูหมิ่นความเป็นมนุษย์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3