2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์

119 สิทธิ เสรีภาพการแสดงความเห็น ได้รองรับไว้ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและ สิทธิทางการเมือง ค.ศ. 1966 (International Covenant on Civil and Political Rights หรือ ICCPR) มีข้อกาหนดให้สิทธิเสรี ภาพในการ แสดงความคิดเห็นเอาไว้ในข้อที่ 19 ความว่า 1. บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะมีความคิดเห็นโดยปราศจากการแทรกแซง 2. บุคคลทุกคนมีสิทธิในเสรีภาพแห่งการแสดงออก สิทธินี้รวมถึงการรับรู้ การเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารทุกชนิด ไม่ว่าจะด้วยวาจา ลายลักษณ์อักษร หรือวิธีการอื่นใด 3. การใช้สิทธิตามที่บัญญัตินี้ ต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบพิเศษควบคู่ไปด้วย แต่การใช้สิทธิ ดังกล่าวอาจมีข้อจากัดในบางเรื่องทั้งนี้ข้อจากัดดังกล่าวต้องบัญญัติไว้ในกฎหมายและจาเป็นต้อง เคารพในสิทธิหรือชื่อเสียงของบุคคลอื่น ดังนั้น สิทธิความเป็นส่วนตัวจึงเป็นเรื่องที่รัฐจะต้องให้ความสาคัญและให้ความคุ้มครอง บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญได้กาหนดหลักการอันเป็นการรับรองและคุ้มครองสิทธิพื้นฐานของ ประชาชนไว้และกาหนดให้สิทธิเสรีภาพมีผลใช้บังคับได้จริง โดยกาหนดให้มีผลผูกพันองค์กรรัฐ ทุกองค์กรให้ต้องปฏิบัติตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการรับรองและให้ความคุ้มครองแก่สิทธิเสรีภาพใน การแสดงความคิดเห็นของประชาชนเอาไว้ ภายใต้รูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตย สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนถือได้ว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่มีความจาเป็นอย่าง ยิ่ง เมื่อรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดได้ให้หลักประกันแก่ประชาชนในการใช้สิทธิเสรีภาพในการ แสดงความคิดเห็นไม่ว่าจะเป็นการพูด การพิมพ์ การเขียน ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อให้บุคคล สามารถรับรู้หรือเข้าใจถึงสิ่งที่ต้องการสื่อสาร แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามการใช้เสรีภาพดังกล่าวนั้นจาเป็น จะต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตทางกฎหมาย หากการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นก่อให้เกิด ความเสียหายต่อประเทศชาติ ต่อรัฐหรือต่อประชาชน รัฐธรรมนูญ หรือรัฐ ในฐานะเป็นผู้ใช้อานาจ ปกครอง ย่อมมีสิทธิที่จะกาหนดมาตรการทางกฎหมายเพื่อจากัด หรือคุ้มครองการใช้สิทธิเสรีภาพ ของประชาชนโดยเฉพาะ ไว้ในกฎหมายหรือการกาหนดข้อยกเว้นของการใช้สิทธิเสรีภาพของ ประชาชนภายใต้เงื่อนไขในการรักษาความสงบมั่นคงของรัฐในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและชื่อเสียง สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวก็ได้ ในส่วนของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 แม้จะมิได้มีข้อห้ามเกี่ยวการ การกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์เอาไว้ แต่หากพิจารณาหมวด 4 หน้าที่ของปวงชนชาวไทย มาตรา 50 กาหนดไว้ว่า บุคคลมีหน้าที่ดังต่อไปนี้ (6) เคารพและไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล อื่น และไม่กระทาการใดที่อาจก่อให้เกิดความแตกแยกหรือเกลียดชัง จะเห็นได้ว่าใน (6) ได้กาหนดให้ การเคารพและไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น และไม่กระทาการใดที่อาจก่อให้เกิดความ แตกแยกหรือเกลียดชังในสังคม ถือเป็นหน้าที่ของประชาชนชาวไทยที่ต้องถือปฏิบัติตาม โดยเสรีภาพ ในการแสดงความคิดเห็นหากไปกระทบต่อสิทธิของบุคคลอื่นซึ่งได้รับความคุ้มครองไว้ในรัฐธรรมนูญ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3