2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์
120 เช่นเดียวกันแล้วย่อมถูกจากัดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นการแสดงความคิดเห็นที่ไม่มีคุณค่า หรือ มีคุณค่าน้อยมากเมื่อเทียบกับผลกระทบที่จะเกิดกับบุคคลหรือสังคมโดยรวมแล้ว หรือเป็นการแสดง ความคิดเห็นที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม ดังเช่นการบูลลี่ก็ถือเป็นตัวอย่างหนึ่งของการแสดง ความคิดเห็นที่มีคุณค่าน้อยหรือไม่เกิดประโยชน์เมื่อเทียบกับความเกลียดชังและความรุนแรงที่จะ ตามมา ดังนั้นการบูลลี่จึงไม่ควรได้รับการปกป้องหรือคุ้มครองจากรัฐธรรมนูญ จากการสัมภาษณ์เชิงลึก ในประเด็นสัมภาษณ์ สิทธิส่วนตัวในการแสดงความคิดเห็นตาม กฎหมายกับการบูลลี่ มีความเหมือนหรือแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร ผลของคาตอบ จากผู้ให้ สัมภาษณ์ทั้ง 3 กลุ่มให้ความเห็นในมุมมองของแต่ละกลุ่มดังนี้ กลุ่มบุคลลทั่วไป มองว่าการบูลลี่ หรือการล้อเลียนเรื่องรูปร่างหน้าตา บางครั้งอาจจะทาไปด้วย ความเคยชิน เป็นสิทธิที่ฉันจะพูด จะแสดงความคิดเห็น เป็นเพียงแค่การหยอกล้อ ไม่ได้คิดอย่างนั้น จริง ๆ มันก็เลยทาให้กลายเป็นความเคยชิน คนที่ถูกกระทาบางครั้งก็เคยชินไป แต่บางครั้งก็รู้สึกแย่ จนรับไม่ได้ หรือแม้แต่เป็นการใช้คาพูดที่ทาให้รู้สึกแย่ รู้สึกล้มเหลว โดยคนพูดคิดเพียงแค่ว่าแค่ คอมเมนต์ให้เขาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ดีขึ้นแต่กลายเป็นไปต่อว่าเขาเสียแทน จิตแพทย์ มองว่าการมองคุณค่าของแต่ละคนมันไม่เหมือนกัน สังคมไทยยังไม่ยอมรับความ แตกต่าง แล้วก็ไม่ยอมรับความเป็นตัวตน อัตลักษณ์ หรือการแสดงออกของเขา ทาให้เราพร้อมจะไป ตัดสินเขาว่า เขาเป็นแบบนี้ผิด แบบนี้ไม่ดี แบบนี้ไม่ได้ ไปฝืนไปบังคับเค้าในสิ่งที่เข้าไม่อยากเป็นให้ เป็นเพื่อเป็นไปตามใจเรา จนทาให้เขาไม่สามารถเป็นตัวของตัวเองได้ หากเ ข้าทาไม่ได้ก็จะไม่ถูก ยอมรับจากสังคม กลุ่มนักคุ้มครองสิทธิ มองว่าการสร้างความสมดุลระหว่างอานาจรัฐ กับการรักษาสิทธิเสรีภาพ ของประชาชน เป็นอีกหนึ่งความท้าทายในการจัดการกับปัญหา เพราะหากรัฐเข้ามาควบคุมมาก เกินไปก็จะกลายเป็นการจากัดสิทธิเสรีภาพเกินควร แต่ถ้าไม่เข้ามาควบคุมเลยปัญหาก็จะไม่ได้รับการ แก้ไข รัฐจึงต้องหามาตรการในการก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลและใช้มันให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับทุกฝ่าย แต่ทั้งนี้ต้องไม่สร้างความเหลื่อมล้า และต้องไม่ทาให้ประชาชนถูกล่วงละเมิดโดยรัฐเอง แต่จะทา อย่างไรให้เกิดความสมดุล ระหว่างการควบคุมในขณะเดียวกันต้องไม่ล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพของ ประชาชนมากจนเกินไป และหากมีการออกกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคม ออนไลน์ก็จะถือได้ว่าเป็นการให้ความคุ้มครองในสิทธิความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานสื่อที่ควรจะได้รับ ความคุ้มครองตามกฎหมาย เพราะทุกคนควรสามารถใช้สื่อสังคมออนไลน์โดยปราศจากการรบกวน อันก่อให้เกิดวามอับอาย หรือเดือดร้อนราคาญใจ และมองว่า “สิทธิความเป็นส่วนตัว” “ความเป็น สาธารณะ” กับขอบเขตและความเหมาะสมในการวิพากษ์วิจารณ์ เรื่องส่วนตัวของบุคคลอื่น ทุกคน ควรตระหนักว่าเราเกิดมาบนความแตกต่าง ทุกคนล้วนมีดีในแบบที่แต่ละคนเป็น ความต่างไม่ใช่สิ่งไม่ ดีแต่มันคือตัวตนส่วนบุคคลของ เราไม่ควรตัดสินคนอื่นเพียงเพราะเขาต่างจากมาตรฐานที่เราวางไว้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3