2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์
122 สิทธิและเสรีภาพของประชาชนที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ตามหลักสิทธิมนุษยชน ในมาตรา 25 วรรคสาม โดยบัญญัติให้ “บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ สามารถยก บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้” บุคคลทุกคนจึง ย่อมมีสิทธิได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายต่อการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัว และในมาตรา 26 ยังได้ให้อานาจรัฐในการจากัดสิทธิและเสรีภาพภายใต้เงื่อนไขรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายอื่นใด โดย ข้อจากัดเช่นว่าก็ต้องไม่เป็นการเพิ่มภาระเกิดความจาเป็นและต้องไม่กระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์ และที่สาคัญคือต้องไม่เป็นการจากัดสิทธิหรือเสรีภาพเกินกว่าเหตุ ในการจากัดสิทธิและ เสรีภาพต้องระบุเหตุผลและความจาเป็นเอาไว้ด้วย แต่ทั้งนี้เมื่อประเทศไทยไม่มีกฎหมายโดยเฉพาะ จึงไม่มีตัวบทกฎหมาย หรือคาจัดกัดความถึง การกลั่นแกล้งที่ชัดมากพอที่จะสามารถนามาพิจารณาถึงขอบเขตการใช้เสรีภาพในการแสดงความ คิดเห็นอันเป็นการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ การแสดงออกทางสื่อสังคมออนไลน์จึงทาให้เกิด พื้นที่สาธารณะหรือสภาพแวดล้อมแห่งใหม่ในการละเมิดสิทธิและเสรีภาพที่แตกต่างจากในอดีต จึงเป็นเรื่องยากในการสร้างสมดุล เป็นการยากในการที่ศาลจะพิจารณาให้ความคุ้มครอง เยี ยวยา หรือจากัดสิทธิในการแสดงความคิดเห็นให้มีความสมดุลระหว่างการใช้เสรีภาพในการแสดงความ คิดเห็นและการคุ้มครองสิทธิความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งได้ อันเป็นผลมาจากความไม่ ชัดเจนของกฎหมาย ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของรัฐเมื่อรัฐธรรมนูญในฐานะอันเป็นกฎหมายสูงสุดของ ประเทศให้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกแล้ว เมื่อมีการใช้เสรีภาพมากเกินสมควรจนไปกระทบถึงสิทธิ ความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่น รัฐก็ย่อมต้องเข้ามาเพื่อกาหนดมาตรการทางกฎหมายในควบคุม การใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อคุ้มครองสิทธิความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคล ซึ่งสอดล้องกับแนวคิดเกี่ยวกับ การควบคุมอาชญากรรม บนหลักการที่ว่าในกระบวนการยุติธรรมนั้น องค์กรผู้มีหน้าที่ใช้กฎหมาย มีหน้าที่ในการที่จะต้องหามาตรการ รวมถึงหาวิธีการในการป้องปราม ควบคุม เพื่อมิให้มีการ กลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์เกิดขึ้นในประเทศไทย และเพื่อลดปัญหาดังกล่าวให้เกิดผลดีที่สุด ในทางกลับกันหากองค์กรต่าง ๆ ในกระบวนการยุติธรรมไม่สามารถลดหรือควบคุมการการกลั่นแกล้ง ทางสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศไทยได้ นั่นหมายความว่าความสงบสุขของสังคมในส่วนรวมนั้น ถูกทาลายอย่างสิ้นเชิง และยังหมายถึงสิทธิส่วนตัวได้สูญเสียไปด้วย จากประเด็นการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพตามกฎหมายกับสิทธิความเป็นส่วนตัวของ บุคคลอื่น เมื่อการเป็นพื้นที่สาธารณะออนไลน์กลายเป็นส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดการกลั่นแกล้งทาง สื่อสังคมออนไลน์ เพราะการที่บุคคลหนึ่งใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของเขาไปกระทบกับสิทธิ ในความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่น ถือเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพเกินขอบเขต รัฐจึงจาต้องเข้ามาสร้าง มาตรการเพื่อจัดระเบียบการใช้สิทธิเสรีภาพดังกล่าวให้เกิดความสมดุล โดยจาต้องมีกฎหมายเพื่อ จากัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของบุคคลซึ่งถือเป็นสิทธิตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3